การปิดบริษัทจำกัดของไทย มติพิเศษและข้อปฏิบัติจริง
ในบทความก่อนหน้า เราได้กล่าวถึงพื้นฐานของกฎหมายกำหนดโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์สำหรับการยุบบริษัทจำกัดไทย ในบทความนี้ เราจะให้ความสนใจกับเรื่องพื้นฐานที่สุด การยุบบริษัทจำกัดไทยผ่านมติพิเศษและพูดคุยถึงข้อปฏิบัติจริงเพื่อการลงทะเบียนยุบบริษัทจำกัดของไทย
หากผู้ถือหุ้นเต็มใจเลือกที่จะปิดบริษัท ดังนั้นพวกเขาจะต้องลงมติพิเศษ การจะลงมติพิเศษได้อย่างถูกกฎหมายนั้น บริษัทต้องดำเนินตามระเบียบที่ได้ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์
การลงมติพิเศษ คณะกรรมการต้องเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ต้องมีการตีพิมพ์หนังสือเชิญประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งบนหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไม่ล่าช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันกำหนดการ นอกจากนี้สำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นใดๆที่ลงมติพิเศษ ต้องประกาศส่งผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้ถือหุ้นทั้งหมดอย่างน้อย 14 วันก่อนวันที่มีกำหนดการ เสียงโหวตส่วนใหญ่ต้องไม่น้อยกว่าสามในสี่ของผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่เข้าร่วมการประชุมและมีสิทธิที่จะโหวตเพื่อลงมติ ทุนของบริษัทจึงจะครบองค์ประชุม จำนวนผู้ถือหุ้นหนึ่งในสี่ของทุนจดทะเบียนบริษัทต้องเข้าร่วมประชุมเพื่อให้ครบองค์ประชุม
ทันที่ที่บริษัทยุบลง ผู้อำนวยการบริษัทจะกลายเป็นผู้ชำระบัญชี ยกเว้นแต่ว่าข้อตกลงบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นหรือบริษัทได้ยุบตัวลงด้วยการล้มละลายทางการเงิน ผู้ชำระบัญชีต้องตีพิมพ์ประกาศลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภายในสิบสี่วันโดยประกาศว่าบริษัทได้ยุบตัวลงและเจ้าหนี้ต้องส่งหนังสือทวงถามการชำระหนี้ต่อผู้ชำระบัญชี ยิ่งไปกว่านี้ ประกาศที่ส่งผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียนจำเป็นต้องส่งให้กับเจ้าหนี้แต่ละที่เป็นการส่วนตัวภายในสิบสี่วันที่บริษัทได้ยุบตัวลง
ผู้ชำระบัญชียังต้องดำเนินการจดทะเบียนการยุบบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจ (พค.) ทันทีที่การลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์ กรมพัฒนาธุรกิจจะออกหนังสือรับรองเพื่อยืนยันการยุบบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีของบริษัท ค่าธรรมเนียมของกรมพัฒนาธุรกิจอยู่ที่ 400 บาทต่อการลงทะเบียนและ 120 บาทต่อสำเนาใบรับรองหนึ่งฉบับ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าบริษัทจะยุบตัวลงแล้วก็ตาม จะยังคงถูกพิจารณาให้ยังมีตัวตนอยู่ ซึ่งจุดประสงค์คือไม่ให้การชำระหนี้ปิดเสร็จสมบูรณ์จนกว่าทรัพย์สินของบริษัทจะถูกขายหมด ในบทความหน้า พวกเราจะมุ่งเป้าไปยังเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีบริษัทจำกัดในประเทศไทย
Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล