การควบรวมกิจการ: ผลกระทบทางภาษีเงินได้นิติบุคคล

การควบรวมกิจการ: ผลกระทบทางภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตามประมวลรัษฎากรของประเทศไทย ภาษีเงินได้นิติบุคคลและผลกระทบทางภาษีเงินได้อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการควบรวมกิจการมีอะไรบ้าง หลักการพื้นฐานภายใต้กฎหมายไทยคือ หลังจากการควบรวมกิจการ บริษัทที่ควบรวมกันจะได้รับสิทธิและมีความรับผิดตามบริษัทเดิม หลักการนี้มีความเกี่ยวข้องโดยเแฑาะในแง่ของความรับผิดทางภาษี สำหรับผลกระทบทางภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีอื่น ๆ โดยเฉพาะนั้น คำแนะนำเพิ่มเติมสามารถหาอ่านได้จาก ความเห็นที่ปรึกษากรมสรรพากร เลขที่ ก.ด. 0706/10422 ออกเมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2548 แม้ว่าจะมีการออกความเห็นดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางให้บริษัทมหาชนจำกัดได้นำไปประยุกต์ใช้ แต่ความเห็นนี้ก็ยังใช้บังคับโดยทั่วไปกับบริษัทเอกชนจำกัดที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย โดยกรมสรรพากรเสนอแนวทางดังต่อไปนี้:

  • ในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทเดิมจนถึงวันที่จดทะเบียนควบรวมกิจการ และสำหรับบริษัทที่ควบรวมกิจการภายหลังวันที่จดทะเบียน ให้ใช้เกณฑ์คงค้างตามมาตรา 65 วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รายได้ (และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง) ที่เกิดขึ้นในปีบัญชีหนึ่ง ๆ จะนำมาคำนวณเป็นส่วนหนึ่งของภาษีในปีนั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้รับ (หรือจ่าย) ก็ตาม
  • ในกรณีที่บริษัทเดิมได้รับบริการก่อนจดทะเบียนควบรวมกิจการ และบริษัทที่ถูกควบรวมกิจการได้ชำระเงินได้พึงประเมินแก่ผู้ให้บริการในครั้งภายหลังจดทะเบียนควบรวมกิจการ บริษัทที่ถูกควบรวมกิจการมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และออกใบหัก ณ ที่จ่าย ใบรับรองภาษีให้แก่ผู้ให้บริการ ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
  • ในกรณีที่บริษัทเดิมให้บริการและได้รับเงินได้พึงประเมินก่อนจดทะเบียนควบรวมกิจการ แต่มีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่มีชื่อบริษัทเดิมเป็นผู้เสียภาษีออกให้ภายหลังการจดทะเบียนควบรวมกิจการแล้ว ให้บริษัทเดิมได้เครดิตทางภาษีตามจำนวนภาษีที่ถูกหักไว้ตามใบรับรองตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทเดิมยังคงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 73 แห่งประมวลรัษฎากร
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของลูกจ้างตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทเดิมมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของลูกจ้างจนถึงวันก่อนวันจดทะเบียนควบรวมกิจการ บริษัทที่ถูกควบรวมกิจการมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ของพนักงานนับแต่วันจดทะเบียนควบรวมกิจการ นอกจากนี้ บริษัทที่ถูกควบรวมกิจการจะต้องยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ก และ ภ.ง.ด. 2 ก ในนามของบริษัทเดิมตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร

ผลกระทบทางภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เกิดขึ้นหลังจากการควบรวมกิจการมีความซับซ้อน บริษัทต่าง ๆ ควรขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษากฎหมายที่มีความรู้ความสามารถเพื่อทำความเข้าใจสิทธิและความรับผิดของตน

________________________

1 มาตรา 152 และ 153 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. พ.ศ. 2535 (พ.ศ. 2535); มาตรา 1243 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog