การควบรวมกิจการ: ผลกระทบว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มภายใต้ประมวลรัษฎากร
ภายใต้ประมวลรัษฎากรของประเทศไทย ผลกระทบว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จำเพาะ ที่เกิดขึ้นหลังจากการควบรวมกิจการมีอะไรบ้าง หลักการทั่วไปของกฎหมายตามมาตรา 152 และมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 คือ การควบรวมบริษัททำให้บริษัทเดิมหมดสิ้นความเป็นนิติบุคคลลง และทำให้บริษัทที่ถูกควบรวมกิจการมีหน้าที่ต่อทรัพย์สิน ภาระผูกพัน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทเดิมด้วย มีคำแนะนำเพิ่มเติมจากกรมสรรพากร โดยเป็นความเห็นที่ปรึกษากรมสรรพากร เลขที่ ก.ด. 0706/10422 ออกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 กล่าวถึง การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทไทยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 2 แห่ง แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะใช้ได้กับบริษัทจำกัดเอกชนด้วยเช่นกัน กรมสรรพากรเสนอแนวทางดังต่อไปนี้:
- การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามมาตรา 85/14 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบธุรกิจจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะควบรวมกับบริษัทอื่นจะต้องแจ้งการหยุดประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากรให้กรมสรรพากรทราบภายใน 15 วัน ภายหลังหยุดประกอบกิจการ บริษัทที่ถูกควบรวมใหม่จะต้องจดทะเบียนระบบภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 15 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้น ในกรณีนี้ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. ที่ 66/2539 เรื่อง การแจ้งหยุดประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร ออก ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ใช้บังคับไม่ได้ คำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะกับผู้ประกอบธุรกิจจดทะเบียนที่จะเลิกกิจการจริงและไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มอีกต่อไป ซึ่งจะแตกต่างจากกรณีควบรวมกิจการซึ่งกำหนดให้บริษัทที่ควบรวมกันจะต้องได้รับมรดกสิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิม - ความรับผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่บริษัทแห่งหนึ่งเคยขายสินค้าหรือให้บริการในธุรกรรมบางอย่างก่อนควบรวมกิจการ แต่ไม่มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีเกิดขึ้นจนกว่าจะจดทะเบียนควบรวมกิจการแล้ว บริษัทที่ถูกควบรวมมีหน้าที่ต้องเสียภาษี ออกใบกำกับภาษีขายสินค้าหรือบริการดังกล่าวตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทที่ถูกควบรวมต้องใช้ภาษีขายในการคำนวณภาระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทที่ถูกควบรวมมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ. พ. และต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83 แห่งประมวลรัษฎากร ในทางกลับกัน หากบริษัทแห่งหนึ่งซื้อสินค้าหรือบริการก่อนควบรวมกิจการ แต่ซัพพลายเออร์ของสินค้าหรือบริการไม่ได้ออกใบกำกับภาษีจนกว่าจะจดทะเบียนควบรวมกิจการแล้ว บริษัทที่ถูกควบรวมจะมีสิทธิใช้ภาษีซื้อเพื่อลดภาระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ถูกควบรวมจะต้องขอให้ซัพพลายเออร์ยกเลิกใบกำกับภาษีที่เดิมออกให้กับบริษัทเดิม และออกใบกำกับภาษีใหม่ในนามของบริษัทที่ถูกควบรวมกิจการ - ใบลดหนี้และใบเพิ่มหนี้
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงราคารวมของสินค้าหรือบริการที่เดิมขายโดยบริษัทเดิมในธุรกรรมบางอย่างตามที่อธิบายไว้ในมาตรา 82/9 หรือ 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร และได้เสียภาษีขายไปแล้ว บริษัทเดิมใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทที่ควบกันมีหน้าที่ออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ (แล้วแต่กรณี) ให้กับลูกค้าตามนั้น ในทางกลับกัน ใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ใด ๆ ที่บริษัทที่ถูกควบรวมกิจการได้รับหลังจากการจดทะเบียนควบรวมกิจการสำหรับสินค้าหรือบริการที่ซื้อโดยบริษัทเดิมจะต้องออกในชื่อของบริษัทที่ถูกควบรวมกิจการ
ผลกระทบด้านภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นหลังจากการควบรวมกิจการมีความซับซ้อน บริษัทควรปรึกษากับที่ปรึกษากฎหมายที่มีความสามารถเพื่อทำความเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนภายใต้กฎหมาย
Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล