เมื่อต้องเปิดบริษัทในประเทศไทย จำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง
ชาวต่างชาติอยากจะเข้ามาเปิดธุรกิจในประเทศไทยด้วยเหตุผลหลายประการ การจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยอาจช่วยให้ชาวต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย อาศัยอยู่ในประเทศไทย หรือทำงานในประเทศไทยได้ รัฐบาลไทยต้องการให้เจตนารมณ์หลักในการจัดตั้งบริษัทเพื่อเป็นการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อหารายได้และสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ชาวต่างชาติจำนวนมากต้องการจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย แล้วจะจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยได้อย่างไร
แม้บทความนี้จะพูดถึงกระบวนการจัดตั้งบริษัทในไทยด้วยข้อมูลทั่วไป แต่ก็ให้ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมในการจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย ซึ่งการจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยมีหลายขั้นตอน มีแบบฟอร์มหลายตัวเป็นภาษาไทยที่จำเป็นต้องจัดเตรียมพร้อมเอกสารประกอบและยื่นกับหน่วยงานของรัฐหลายแห่ง โดยเราแนะนำว่า ชาวต่างชาติที่กำลังดำเนินการตามขั้นตอนนี้เพื่อจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยให้ปรึกษาทนายความที่มีประสบการณ์และมีความรู้เฉพาะทางในเรื่องของการจัดตั้งบริษัท และที่สำคัญสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เพื่อช่วยเหลือคุณในการจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย
การจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ
สิ่งหนึ่งที่ต้องมีการชี้แจงคือ หุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทที่จัดตั้งในประเทศไทยจะต้องเป็นของผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทย เว้นแต่การจัดตั้งบริษัทนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพิเศษของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือบีโอไอ ซึ่งหมาย หากผ่านช่องทางของบีโอไอแล้ว นักลงทุนชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของบริษัทผ่านการถือหุ้นในไทยได้แค่ 49% เท่านั้น แม้จะมีการจำกัดจำนวนหุ้นไว้ที่ 49% แต่ธุรกิจบางประเภทสามารถให้ต่างชาติถือหุ้นได้เกินหรือได้รับการยกเว้นหากได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยทั่วไปแล้ว ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจะมอบให้กับธุรกิจที่ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ โดยธุรกิจนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและไม่ได้แข่งขันกับธุรกิจของไทย
ปัจจุบัน มีการจัดตั้งบริษัทในหลายรูปแบบ โดยรูปแบบของบริษัทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือบริษัทเอกชนจำกัด โดยในบริษัทเอกชนจำกัด ใฟ้ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัด ในขณะที่กรรมการอาจมีความรับผิดไม่จำกัด บริษัทเอกชนจำกัดต้องมีผู้สนับสนุนอย่างน้อยสามคน ผู้ก่อการอาจเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ แต่ต้องเป็นบุคคลจริง (ไม่ใช่นิติบุคคล) และถือหุ้นในบริษัท
กระบวนการเริ่มต้นในการจะจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยคือ ผู้ก่อตั้งจะต้องจองชื่อบริษัทไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้ก่อการจะต้องจองชื่ออย่างน้อยสามชื่อที่ไม่ซ้ำกับชื่อสำรองที่มีอยู่แล้ว และไม่ละเมิดกฎกระทรวงใด ๆ โดยในปัจจุบัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะเป็นคนเลือกหนึ่งชื่อจากทั้งสามชื่อ
ถัดมา ผู้จัดตั้งบริษัทจะต้องยื่นหนังสือบริคณห์สนธิต่อกรมทะเบียนพาณิชย์ หนังสือบริคณห์สนธิจะระบุชื่อบริษัท จำนวนและมูลค่าหุ้น และชื่อของผู้ร่วมจัดตั้ง ภายหลังการยื่นหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ให้เรียกประชุมตามที่กฎหมายจัดตั้งบริษัทชาวกำหนดเพื่อจัดทำรายการหุ้น การจัดตั้งกรรมการ และค่าตอบแทนแก่ผู้จัดตั้งบริษัท หากบริษัทจะมีแรงงานต่างด้าว ก็มีข้อกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำและข้อกำหนดการจ้างงานของบริษัทด้วย
ภายในสามเดือนหลังการประชุมตามที่กฎหมายกำหนดนั้น กรรมการจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย และในระหว่างขั้นตอนการยื่นขอจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยนั้น ผู้ถือหุ้นและผู้จัดตั้งบริษัทจะต้องชำระเงินค่าหุ้นในบริษัทใหม่และลงนามในเอกสารการจดทะเบียนทั้งหมด ทั้งนี้ บริษัทใหม่ที่อาจต้องเสียภาษีเงินได้จะต้องได้รับหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจากกรมสรรพากรภายใน 60 วันนับจากวันจดทะเบียนหรือเริ่มดำเนินธุรกิจ
หลังจากจดทะเบียนแล้ว บริษัทสามารถเริ่มขั้นตอนการรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจและเริ่มดำเนินธุรกิจใหม่ได้ บริษัทใหม่จะต้องติดตามและบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร และพระราชบัญญัติการบัญชี มีข้อกำหนดในการยื่นเอกสารทางการเงินสำหรับบริษัทเพื่อรักษาสถานะของบริษัทด้วย
Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล