ปิดกิจการในไทย ต้องรู้อะไรบ้าง

Properly Close Your Business in Thailand

การเริ่มทำธุรกิจและดำเนินธุรกิจในประเทศไทยถือเป็นความท้าทายสำหรับชาวต่างชาติอย่างยิ่ง กระบวนการในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก กระบวนการก่อตั้งบริษัท การบริหารจัดการสาธารณูปโภค และการว่าจ้างพนักงาน ล้วนแต่ต้องเดินทางไปกรอกแบบฟอร์มที่หน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะจ้างงานในตลาดแรงงานที่คับคั่ง แม้ว่าธุรกิจจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งกับพนักงานและลูกค้าได้ นอกเหนือจากการบังคับใช้สัญญาและการจัดการกับระบบราชการในภาษาต่างประเทศอีกด้วย

หลายบริษัทเริ่มธุรกิจด้วยการตั้งความหวังที่สูงว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จ แต่เมื่อทำไปซักพักก็จะพบว่า ธุรกิจอาจไม่ได้ยั่งยืนนานเสมอไป เว้นแต่จะพบผู้ที่จะเข้ามาซื้อธุรกิจรายใหม่ ธุรกิจจึงจะต้องเริ่มกระบวนการยกเลิกบริษัทที่ต้องใช้เวลานาน กระบวนการปิดกิจการหรือปิดบริษัทอย่างถูกต้องนั้นใช้เวลานานและเต็มไปด้วยอุปสรรคด้านกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น ต่อไปนี้เป็นรายการและขั้นตอนที่จำเป็นในการปิดบริษัทหรือยกเลิกบริษัทอย่างเหมาะสม

  1. ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และเริ่มกระบวนการปิดบริษัทตามกฎหมาย
  2. หากบริษัทอยู่ในภาวะหนี้สินล้นพ้น บริษัทจะต้องทำการชำระบัญชีสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมด
  3. หากบริษัทอยู่ในภาวะหนี้สินล้นพ้น ผู้ถือหุ้นสามารถนำเงินทุนเพิ่มเติมเข้ามาในบริษัทได้ ไม่เช่นนั้นผู้ชำระบัญชีจะต้องเริ่มเข้าสู่กระบวนการฟ้องล้มละลาย จะต้องมีการชำระหนี้ของบริษัทตามกฎหมายก่อนที่บริษัทจะปิดตัวลง
  4. บริษัทจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ การล้มละลายจะไม่เป็นการปลดหนี้ทางภาษีให้บริษัท
  5. พนักงานควรได้รับเงินเดือนและค่าชดเชยใด ๆ ที่เกิดขึ้น
  6. หากมีลูกจ้างต่างด้าวทำงานด้วย จะต้องคืนใบอนุญาตทำงานให้กับกระทรวงแรงงานภายในเจ็ดวันนับจากวันเริ่มทำงาน
  7. บริษัทจะต้องแจ้งซัพพลายเออร์และลูกค้าตามกฎหมายเกี่ยวกับการยกเลิกหรือปิดกิจการ ควรมีการเตรียมการเพื่อยกเลิกสัญญาบริการที่มีอยู่
  8. ให้ปิดบัญชีธนาคารและบัญชีการเงินและชำระบัญชีให้เรียบร้อย
  9. เจ้าของพื้นที่ให้เช่าเพื่อทำธุรกิจควรได้รับแจ้งเรื่องการปิดหรือยกเลิกกิจการและควรยุติสัญญาเช่าให้ถูกต้องตามกฎหมาย
  10. หากชำระภาษีและหนี้แล้ว ส่วนเกินจะต้องจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น

การปิดหรือยกเลิกกิจการเป็นช่วงเวลาที่น่าเศร้าของเจ้าของธุรกิจ แต่ก็ต้องทำให้แน่ใจว่า มีการปิดหรือยกเลิกกิจการถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมาย หนี้คงค้างหรือสัญญาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอาจนำไปสู่การฟ้องร้องกรรมการและเจ้าของธุรกิจได้อีก หากเป็นเช่นนี้ ให้ติดต่อทนายความของเราเพื่อให้แน่ใจว่า กิจการของท่านปิดลงหรือยกเลิกอย่างถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมาย เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความรับผิดอย่างต่อเนื่องหรือการฟ้องร้องในอนาคต

เราทำอะไรให้คุณได้บ้าง

เราให้ความช่วยเหลือดังต่อไปนี้:

  • ตรวจสอบกลยุทธ์เพื่อปิดหรือยกเลิกกิจการโดยให้มีค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด
  • จัดทำและร่างรายงานการประชุมเพื่อเลิกกิจการ
  • เจรจาตกลงในเรื่องของข้อกฎหมายกับลูกจ้างของบริษัทตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด
  • เจรจากับเจ้าของสถานที่ที่ให้เช่าเพื่อดำเนินธุรกิจ พร้อมแผนการชำระเงินหลังยุติสัญญาเช่าก่อนกำหนด
  • ร่างข้อตกลงกับซัพพลายเออร์หากจำเป็น
  • จัดทำรายงานการสอบบัญชี และส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • ปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีกับหน่วยงานรัฐของไทยที่เกี่ยวข้อง
  • ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเกี่ยวกับการล้มละลาย/ภาวะหนี้สินล้นพ้น และการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้การดูแลของศาลอันมีเหตุมาจากการล้มละลาย

หากคุณมีคำถามหรือต้องการความช่วยเหลือเมื่อต้องปิดหรือเลิกกิจการ โปรดติดต่อเรา

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog