หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติสำหรับบริษัทต่างชาติ ที่ต้องการจัดตั้งสำนักงานตัวแทนในไทย
ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงลักษณะและคุณลักษณะสำคัญของสำนักงานตัวแทนตามที่กฎหมายไทยกำหนด รวมถึงวัตถุประสงค์หลักและกิจกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้ ในบทความนี้ เราจะกล่าวถึงกฎระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งสำนักงานตัวแทนของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยทั่วไป สำนักงานตัวแทนจะจัดตั้งขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลที่ออกในอนุญาต ว่าด้วย “ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว” ภายใต้มาตรา 17 ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการของรัฐที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องประเมินผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจก่อนที่จะอนุญาตให้บริษัทต่างประเทศได้รับใบอนุญาตดังกล่าว ดังนั้น กฎหมายไทยจึงกำหนดให้การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (และด้วยการจัดตั้งสำนักงานตัวแทน) ค่อนข้างซับซ้อนและต้องมีการเตรียมการในระดับสูง
ในการจดทะเบียนจัดตั้งสำนักงานตัวแทนในประเทศไทยในปัจจุบัน แนวทางที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาคือต้องขึ้นอยู่กับกิจกรรมจำเพาะของสำนักงานตัวแทนนั้น ในบทความที่แล้วของเราได้กล่าวไว้ว่า สำนักงานตัวแทนอาจดำเนินกิจกรรมใด ๆ หรือทั้งหมดดังต่อไปนี้เท่านั้น (1) การรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทย (2) การให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายให้กับผู้จัดจำหน่ายหรือลูกค้า ( 3) การจัดหาสินค้าและบริการในประเทศไทย (4) การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่ซื้อหรือสั่งผลิตในประเทศไทย และ (5) การแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่
(1) การรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจ
ในการพิจารณาให้จัดตั้งสำนักงานตัวแทนที่จะดำเนินการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยนั้น คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ซึ่งรับผิดชอบในการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว) จะพิจารณาว่า สำนักงานผู้แทนได้รับมอบหมายให้รวบรวมข้อมูลเพื่อให้สำนักงานใหญ่ดำเนินการเพื่อพิจารณาตัดสินใจดำเนินการทางธุรกิจรซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยเป็นหลักหรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากบริษัทต่างชาติต้องการจัดตั้งสำนักงานตัวแทนเพื่อตรวจสอบว่าการจัดตั้งโรงงานในประเทศไทยมีความเป็นไปได้และสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งกิจกรรมนี้จะถือว่าเป็นประโยชน์ตามวัตถุประสงค์และจะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(2) การให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดว่าเข้าเกณฑ์ในข้อนี้คือความซับซ้อนทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์ ในการที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวนั้น ผู้สมัครจะต้องแสดงให้เห็นว่าสำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยแล้ว ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคและคำแนะนำเพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้งานผลิตภัณฑ์นั้นได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น ข้อกำหนดที่สำคัญสองประการในเกณฑ์นี้ ได้แก่ (1) สินค้าได้รับการจำหน่ายไปแล้ว และ (2) ต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคจึงจะทำงานได้อย่างถูกต้อง
(3) การจัดหาสินค้าและบริการ
รายละเอียดของเกณฑ์ในหมวดนี้ค่อนข้างตรงไปตรงมาและกำหนดให้บริษัทต่างชาติต้องแสดงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่า การสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากประเทศไทยกำลังเกิดขึ้นหรืออยู่ในขั้นตอนการดำนเินกิจกรรมนี้อยู่แล้ว และสินค้าและบริการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทต่างชาตินั้น ตัวอย่างเช่น บริษัทต่าชาติหนึ่งซึ่งประกอบธุรกิจค้าผลิตภัณฑ์อาหารมีความประสงค์ที่จะจัดตั้งสำนักงานตัวแทนเพื่อรับซื้ออาหารที่เป็นวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศไทยได้ สำนักงานตัวแทนมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้สำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือพิจารณาสั่งซื้อสินค้าและบริการที่จำเป็นเพื่อดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ
(4) การควบคุมคุณภาพและปริมาณ
เกณฑ์การพิจารณาที่คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวใช้พิจารณาในหมวดนี้นั้นคล้ายคลึงกับหมวดก่อนหน้า ว่าด้วย “การจัดหาสินค้าและบริการ” แต่ในหมวดนี้ หน้าที่ของสำนักงานตัวแทนจะแตกต่างกัน สำหรับกิจกรรมในหมวดนี้ สำนักงานตัวแทนมีหน้าที่ดูแลให้การออกแบบ คุณภาพ และกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่สั่งผลิตในประเทศไทยเป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือกำหนด ในหมวดนี้ บริษัทแม่ในต่างประเทศจะต้องแสดงให้เห็นว่า ได้สั่งซื้อสินค้าหรือบริการไปแล้ว หรืออยู่ในขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากประเทศไทย
(5) การแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่
เกณฑ์การพิจารณาที่สำคัญที่สุดในหมวดนี้คือผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่จะต้องถือเป็น “ของใหม่” ในแง่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทยหรือหากมีการจำหน่ายในประเทศไทยแล้วก็ต้องเป็นรุ่นใหม่ที่มีการปรับปรุงจากรุ่นก่อนหน้า ดังนั้น บริษัทต่างชาติที่ประสงค์จะยื่นขอจัดตั้งสำนักงานตัวแทนในประเทศไทยจะต้องแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์เดิมกับผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการปรับปรุงจากรุ่นก่อน ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดที่เหมาะกับหมวดนี้คือบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ดูเพิ่มเติมที่ “การจัดตั้งสำนักงานตัวแทนในประเทศไทย”
Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล