ก่อตั้งโรงงานผลิตอาหารในประเทศไทย …ทำอย่างไร
ภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งโรงงานผลิตอาหารในประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่มีอำนาจ กระบวนการออกใบอนุญาตมีสองส่วนหลัก ได้แก่ (1) การเตรียมและยื่นคำขอ และ (2) การเตรียมสถานที่เพื่อผลิตอาหาร
จะต้องยื่นคำขอต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย ใบสมัครประกอบด้วยแบบฟอร์มคำขอ เอกสารแสดงตนของบริษัทที่ดำเนินกิจการโรงงาน ตลอดจนแผนแม่บทของสถานที่ผลิตอาหารซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย ในส่วนของสถานที่ผลิตนั้นจะต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของรัฐบาลไทย ในรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ทำเลที่ตั้งของโรงงาน
- คุณภาพของอาคารโรงงาน
- โครงสร้างหรือผังของสถานที่ผลิต
- การจัดการเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิต
- การจัดวางท่อน้ำ
- การกำจัดน้ำเสียและวัสดุเหลือใช้
- น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต
- ห้องน้ำและบริเวณที่ใช้ชะล้าง
- เครื่องยนต์และเครื่องมือโรงงาน
แม้ว่ารายละเอียดของระเบียบในการขออนุญาตเพื่องตั้งโรงงานผลิตอาหารจะค่อนข้างกว้าง แต่โดยสรุปแล้ว มีข้อกำหนดสำคัญ ๆ ได้แก่ สถานที่ผลิตอาหารจะต้องไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใด ๆ ที่ทำให้อาหารปนเปื้อนได้ เช่น จะต้องไม่ตั้งอยู่ใกล้โรงเลี้ยงสัตว์ บริเวณเลี้ยงสัตว์ โรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษ หรือบริเวณที่มีขยะเน่าเปื่อย เป็นต้น ส่วนตัวอาคารโรงงานนั้นต้องใช้เพื่อผลิตแต่อาหารเท่านั้น ห้ามผลิตอย่างอื่นเด็ดขาด พื้นที่จะต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ระบายอากาศได้ดี และสร้างด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ
ในส่วนของผังโรงงาน แต่ละขั้นตอนในกระบวนการผลิตจะต้องมีพื้นที่เป็นของตัวเอง เช่นพื้นที่เก็บวัตถุดิบ เตรียมวัตถุดิบ พื้นที่ที่ใช้ในการผสมอาหาร และเก็บผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป อย่างละ 1 แห่ง หอพักและห้องน้ำต้องมีอาคารแยกกัน ส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิตนั้นจะต้องจัดวางไม่ให้ควันเข้าไปปนเปื้อนในอาหารได้
หากมีคำถามที่เกี่ยวกับกฎหมายการเปิดโรงงานผลิตอาหารในประเทศไทย โปรดติดต่อเรา
Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล