ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้าในประเทศไทย

ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้าในประเทศไทย

ธุรกิจนำเข้าและส่งออกดึงดูดผู้ประกอบการต่างชาติจำนวนมากเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากเป็นสายธุรกิจที่ไม่ได้ถูกจำกัดโดยพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งหมายความว่า ชาวต่างชาติสามารถประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกได้โดยไม่ต้องมีผู้ถือหุ้นชาวไทย 51% หรือไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลไทย

ปัจจัยที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ ประเทสไทยไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมและชัดเจนเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้า ซึ่งนั่นหมายความว่า โดยทั่วไปแล้ว สินค้าสามารถนำเข้ามาในประเทศไทยได้โดยไม่มีข้อจำกัด อย่างไรก็ตาม กฎหมายไทยจำกัดการนำเข้าสินค้าบางประเภท ด้านที่ยากในการดำเนินธุรกิจนำเข้าก็คือ แม้ว่ากรมการค้าต่างประเทศจะออกใบอนุญาตนำเข้าสินค้าจำนวนหลายรายการ แต่ใบอนุญาตสำหรับสินค้าที่แตกต่างกันจะออกผ่านหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ เนื่องจาก หน่วยงานรัฐแต่ละหน่วยก็มีนโยบายที่แตกต่างกันในการควบคุมการนำเข้าสินค้าประเภทหนึ่ง และเมื่อมีการควบคุมสินค้าหนึ่งประเภทก็จะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าประเภทอื่น ๆ ไปด้วย นอกจากนี้ผู้นำเข้าจะต้องรับผิดชอบขอใบอนุญาตนำเข้าจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเอง

ตัวอย่างสินค้าที่ต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ ได้แก่ ชิ้นส่วนเสื้อผ้าที่นำเข้าเป็นชิ้น (เพื่อวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูลทางสถิติ) ยานยนต์ใช้แล้ว และรถจักรยานยนต์ใช้แล้ว (เพื่อปกป้องสาธารณะประโยชน์ทั่วไป) และเครื่องพิมพ์อินทากรีโอหรือเครื่องถ่ายเอกสารสี (เพื่อป้องกันการผลิตธนบัตรปลอม)

ในทางกลับกัน การนำเข้ายา เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ยาอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน แต่ยังเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย การนำเข้าทองคำต้องได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังเพื่อปกป้องความมั่นคงทางการเงินของชาติ การนำเข้ารูปเคารพโบราณต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมศิลปากรจึงจะคุ้มครองโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของชาติได้ เครื่องจักรที่ใช้ในการคัดลอกซีดีและวีดิทัศน์ต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ การนำเข้าเลื่อยไฟฟ้าต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมป่าไม้เพื่อป้องกันการตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย

ผู้ประกอบการต่างชาติที่ไม่แน่ใจว่าจะต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกสินค้าบางประเภทหรือไม่ ควรติดต่อกรมการค้าต่างประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงพาณิชย์

หากมีคำถามเกี่ยวกับใบอนุญาตในการส่งออกและนำเข้าในประเทศไทยที่ไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้ โปรดติดต่อเรา

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog