แนวทางแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี สำหรับนักลงทุนที่ขอสิทธิประโยชน์บีโอไอไทย
นักลงทุนต่างชาติในประเทศไทยที่จะยื่นขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจควบคุมตามกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จะต้องจัดทำแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี มาตรา 5 ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวกำหนดให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณาในการอนุญาตให้ชาวต่างชาติมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางธุรกิจที่ถูกจำกัด ข้อกำหนดมีแนวโน้มที่จะค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นเราจึงได้จัดทำแนวทางโดยย่อเหล่านี้เพื่อช่วยลูกค้าของเราในการกำหนดแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
- “การถ่ายทอดเทคโนโลยี” หมายความว่า การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้ผู้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสามารถพึ่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีได้ ไม่ได้หมายถึงการเปิดเผยความลับทางการค้า
ต่อไปนี้เป็นวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบต่าง ๆ โดยวิธีการทั้งหมดต่อไปนี้กำหนดให้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวต้องระบุงบประมาณ ระยะเวลา และรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลที่จะเป็นผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี
- สัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยี: ข้อตกลงทางกฎหมายกับคู่ค้าทางธุรกิจโดยเทคโนโลยีจะถูกถ่ายโอนโดยตรงไปยังบุคลากรของคู่ค้าทางธุรกิจ
- การมีส่วนร่วมของบุคลากรไทยในด้านการวิจัยและพัฒนา: การมีส่วนร่วมของบุคลากรไทยอาจอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ
- การมีส่วนร่วมของบุคลากรไทยในการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่: ต้องระบุรายละเอียดว่าสินค้าหรือบริการใหม่จะออกสู่ตลาดได้เร็วเพียงใด ตลอดจนงบประมาณที่จัดสรรสำหรับการนำเสนอตลาดใหม่
- การแต่งตั้งผู้มีสัญชาติไทยให้ดำรงตำแหน่งแทนคนต่างด้าว โดยในหมวดนี้ให้คนต่างด้าวเข้ามาดำรงตำแหน่งก่อน และจะฝึกให้คนสัญชาติไทยเข้ามาทำหน้าที่แทนในภายหลัง
- ส่งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศไปฝึกอบรมบุคลากรไทยในประเทศไทยหรือส่งบุคลากรไทยไปฝึกอบรมในต่างประเทศ
- การสนับสนุนด้านการศึกษาและ/หรือวิชาการเพื่อประโยชน์ของสถาบันการศึกษาหรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้อง: การสนับสนุนจะต้องเป็นสาขาวิชาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
- การฝึกอบรม: หมายถึง การบรรยาย สัมมนา หรือการประชุมทั้งในและต่างประเทศ อาจเป็นการฝึกทั่วไปหรือการฝึกเฉพาะก็ได้
ผู้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจากต่างประเทศที่เสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ดีพอและมีประสิทธิภาพจะได้รับสิทธิประโยชน์และสิทธิพิเศษต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐของไทย เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในรูปแบบของสิทธิประโยชน์ทางภาษี และในเรื่องวีซ่า และการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ข้อมูลที่นำเสนอข้างต้นเป็นข้อมูลที่เรานำมาเรียบเรีนงให้อ่านเข้าใจง่ายกว่าลงมือทำจริง ดังนั้นผู้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวควรขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษากฎหมายที่มีความรู้ความสามารถ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้ที่นี่
Category: กฎหมายธุรกิจ, บีโอไอ ประเทศไทย

About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล