เหตุผลการหย่าร้างในประเทศไทย
เมื่อการแต่งงานกลายเป็นอื่น ไม่ว่าคู่สมรสจะพยายามรักษาชีวิตคู่มากแค่ไหน ก็ยังมีหลายครั้งที่การปรับเข้าหากันนั้นไม่ได้ผล ทางออกสำหรับปัญหานี้ก็คือ การฟ้องหย่า วิธีการหย่าร้างในประเทศไทยที่เป็นที่ยอมรับ มีกฎหมายให้แนวทางในการยุติหรือระงับข้อพิพาทและข้อตกลงต่างๆ หลังจากการหย่าร้าง
การหย่าร้างในประเทศไทยสามารถทำได้โดยหย่าด้วยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายหรือการหย่าร้างโดยคำพิพากษาของศาล หากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความยินยอมร่วมกันว่าต้องการจะยุติความสัมพันธ์จะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรและลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานไม่ต่ำกว่า 2 คน โดยพยานจะต้องรับรองความถูกต้องของบันทึกตกลงการหย่าร้าง สิทธิของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งในการฟ้องหย่าจะสิ้นสุดลง หากมีหลักฐานหรือคำประกาศการให้อภัยจากอีกฝ่ายหนึ่งต่อการกระทำที่เป็นเหตุฟ้องหย่า นอกจากนี้ จะไม่มีการหย่าร้างหากศาลพิสูจน์ได้ว่ามีการสมคบคิดร่วมกันระหว่างคู่สมรสหรือมีการยินยอมอย่างเต็มใจจากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้อีกฝ่ายกระทำการที่เป็นเหตุฟ้องหย่า
มาตรา 1516 หมวดที่ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติ “เหตุแห่งการหย่า” มีดังนี้
- สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยา หรือภริยาร่วมประเวณีกับผู้อื่น คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องหย่าได้
- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประพฤติชั่ว ไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
- (ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
- (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
- (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร เมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาพิจารณา อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำร้าย หรือทรมานร่างกาย หรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาท หรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
- (ก) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลานานเกินหนึ่งปี เนื่องจากการกระทำความผิดโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนร่วม ยินยอม หรือรู้เห็นและการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายเกินควรแก่คู่สมรสอีกฝ่าย อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
- (ข) คู่สามีหรือภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรืออยู่แยกกันโดยคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องหย่าได้
- สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีและไม่ทราบแน่ชัดว่ายังมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตแล้ว
- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควร เมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาพิจารณา อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวิกลจริตตลอดมาเกินสามปีและความวิกลจริตนั้นยากที่จะหายได้ วิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีข้อบกพร่องทางร่างกายจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ในการยื่นคดีฟ้องหย่า แนะนำให้คู่สมรสใช้บริการทางกฎหมายจากสำนักงานทนายความที่มีชื่อเสียงที่น่าเชื่อถือในประเทศไทยเพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของลูกค้า
Category: กฎหมายครอบครัว

About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล