เงินทุนที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ได้จำกัดและบังคับใช้กิจกรรมทางธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย เพื่อปกป้องธุรกิจของไทย และวิธีหนึ่งที่ทำกันคือการระบุกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเงินทุนที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย แม้ว่าธุรกิจค้าปลีกจะเป็นธุรกิจควบคุมภายใต้มาตรา 14 บัญชี 3 ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว มาตราดังกล่าวยังระบุด้วยว่าชาวต่างชาติอาจดำเนินธุรกิจค้าปลีกได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หากทุนจดทะเบียนของธุรกิจ 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ปัญหาทางกฎหมายย่อมเกิดขึ้น เมื่อธุรกิจค้าปลีกต่างประเทศก็ประสงค์จะดำเนินธุรกิจบริการเช่นกัน ซึ่งเป็นธุรกิจควบคุมตามมาตรา 21 บัญชี 3 ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เมื่อธุรกิจต่างชาติมีความประสงค์ที่จะให้บริการที่เกี่ยวข้องแก่ลูกค้าที่ซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกของตนด้วย ประเด็นทางกฎหมาย คือธุรกิจค้าปลีกต่างชาติสามารถนำเงิน 100 ล้านบาทมาลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจบริการได้หรือไม่
ประการแรก พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวให้นิยามคำว่า “ทุนขั้นต่ำ” ในมาตรา 4 และมาตรา 14 โดยสรุป คำจำกัดความคือ หมายถึง จำนวนเงินที่แท้จริงที่ธุรกิจของคนต่างด้าวนำส่งมายังประเทศไทยเพื่อเริ่มดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ คำจำกัดความที่ชัดเจนยังแตกต่างกันไปตามประเภทองค์กรธุรกิจ ตัวอย่างเช่น หากธุรกิจของคนต่างด้าวจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย ดังนั้น คำว่า “ทุนขั้นต่ำ” จึงหมายถึง “ทุนจดทะเบียน” นั่นเอง
นอกจากนี้ มีการแบ่งจำนวนเงินทุนขั้นต่ำที่กำหนดออกเป็น 2 ประเภทเพิ่มเติม ได้แก่:
- ทุนขั้นต่ำ ที่มีการกำหนดจำนวนเงินไว้เฉพาะ ตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และ
- ทุนขั้นต่ำ ที่มีการกำหนดจำนวนเงินเฉพาะไว้แล้วสำหรับธุรกิจหนึ่ง ๆ ตามหมวดที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
บัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวมีการกำหนดทุนขั้นต่ำในการดำเนินธุรกิจค้าปลีกคือ 100 ล้านบาท ส่วนทุนขั้นต่ำที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจบริการกำหนดตามมาตรา 14
ข้อกำหนดในกฎหมายแต่ละข้อแยกจากกัน แต่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน ดังนั้นธุรกิจค้าปลีกต่างชาติจึงไม่สามารถใช้ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาทเพื่อดำเนินธุรกิจค้าปลีกเพื่อตอบสนองความต้องการในการดำเนินธุรกิจบริการได้
ข้อจำกัดทางธุรกิจของชาวต่างชาติในประเทศไทยมีความซับซ้อน ชาวต่างชาติที่สนใจทำธุรกิจในประเทศไทยควรขอคำปรึกษาจากทนายความไทยที่มีความรู้ความสามารถ
Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล