สกท.สนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์

สกท.สนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์

ประเทศไทยรุ่งเรืองในฐานะจุดหมายปลายทางของบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ ด้วยทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม สถานที่แปลกใหม่และต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า ทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้สร้างภาพยนตร์ชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก

อีกเหตุผลหนึ่งคือประเทศไทยมีระบบพื้นฐานการผลิตภาพยนตร์ที่พัฒนาแล้ว ซึ่งทำให้ความจำเป็นต้องนำเข้าอุปกรณ์จากนอกประเทศน้อยลง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) แห่งประเทศไทยได้ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ตามกิจกรรมที่ 7.17 (“การผลิตภาพยนตร์ไทย บริการสนับสนุนภาพยนตร์ หรือบริการมัลติมีเดีย”) ของ “รายการกิจกรรมที่มีสิทธิได้รับการส่งเสริมการลงทุน” (ประกาศสกท. ฉบับที่ 2/ 2543) สกท.ได้กำหนดขอบเขตการประกอบธุรกิจที่เข้าเกณฑ์ไว้ในประกาศสกท. ฉบับที่ ป.6/2547 ซึ่งใช้แทนประกาศฉบับที่ 15/2543 เดิม ประกาศให้นิยาม “ภาพยนตร์” ให้หมายความรวมถึงสารคดีและรายการโทรทัศน์ แต่ไม่รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุนจากสกท.โดยเฉพาะ จึงไม่น่าแปลกใจเนื่องจากธุรกิจโฆษณาเป็นธุรกิจต้องห้ามตามบัญชี 3 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (1999)

“บริการสนับสนุนภาพยนตร์หรือบริการมัลติมีเดีย” หมายความรวมถึงบริการให้เช่าอุปกรณ์ บริการประมวลผลฟิล์มและพิมพ์ภาพถ่ายจากฟิล์ม บริการบันทึกเสียง บริการเกี่ยวกับภาพ บริการประสานงาน และบริการให้เช่าสตูดิโอ นอกจากนี้ สกท. ยังกำหนดขอบเขตของกิจกรรมทางธุรกิจที่ได้รับอนุมัติในหมวดนี้ตามอุปกรณ์และเครื่องมือขั้นต่ำที่ต้องใช้สำหรับแต่ละกิจกรรม เพราะฉะนั้นบริการเช่าอุปกรณ์ผลิตภาพยนตร์และอุปกรณ์ประกอบฉากจะต้องมีกล้อง ชุดไฟ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุปกรณ์กล้อง

การประมวลผลฟิล์มและพิมพ์ภาพถ่ายจากฟิล์มจำเป็นต้องมีเครื่องพัฒนาฟิล์ม เครื่องทำสีฟิล์ม เครื่องตัดฟิล์ม และเครื่องล้างฟิล์ม บริการบันทึกเสียงจำเป็นต้องมีเครื่องบันทึกเสียงดิจิทัล เครื่องแก้ไขเสียงดิจิทัล เครื่องผสมเสียงดิจิทัล และห้องบันทึกเสียงมาตรฐาน

บริการด้านภาพจำเป็นต้องมี “อุปกรณ์พิเศษสำหรับการผลิตภาพยนตร์และรายการทีวีที่กล้องไม่สามารถทำได้ เช่น อุปกรณ์บันทึกวิดีโอดิจิตอลมาตรฐานและความละเอียดสูง เครื่องเทเลซีน ห้องตัดต่อ อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการสร้างภาพหรือวิดีโอดิจิทัลที่มีการประกอบหลายภาพหรือองค์ประกอบที่สร้างเอฟเฟกต์พิเศษ” การบริการประสานงานต้องประกอบด้วยบริการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาต ตรวจตราสถานที่ จัดหาพนักงาน และการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับการผลิต

ประเด็นสำคัญที่ต้องหารือในหัวข้อนี้คือการส่งเสริม “เมืองแห่งภาพยนตร์” สำหรับนิคมอุตสาหกรรมของสกท. มูลค่า 8 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จที่จังหวัดเชียงใหม่ภายในปี 2557 ในประกาศที่ ส 2/2547 (“Re: นโยบายส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์”) สกท. ได้จัดทำหมวดการส่งเสริมใหม่เฉพาะสำหรับโครงการภายใต้กิจกรรม 7.5.7 (“เมืองแห่งภาพยนตร์”) โครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้หมวดหมู่เมืองแห่งภาพยนตร์จำเป็นต้องตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเมืองแห่งภาพยนต์และยังต้องมีสตูดิโอในร่มและกลางแจ้งและบริการหลังการผลิต เช่น การพัฒนาภาพยนตร์ เทคนิคพิเศษ คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน แล็บเสียง ฯลฯ

สุดท้ายนี้ โครงการภาพยนตร์ที่ได้รับการส่งเสริมจากการสนับสนุนของสกท. จะได้รับการยกเว้นอากรนำเข้าสำหรับเครื่องจักรและได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี โดยไม่คำนึงถึงพื้นที่บริษัทลงทุนที่ได้รับสิทธิพิเศษจากสกท. โครงการที่ได้รับอนุมัติซึ่งตั้งอยู่ในเมืองแห่งภาพยนตร์จะได้รับการยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรและได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี โดยไม่คำนึงถึงพื้นที่บริษัทลงทุนที่ได้รับสิทธิพิเศษจากสกท.

Category: บีโอไอ ประเทศไทย

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog