ว่าด้วย “ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต” ในประเทศไทย

ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ในประเทศไทย

ที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เดือนกรกฎาคมในปีที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ซึ่งกระทรวงยุติธรรมเสนอให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ โดยมีการส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปยังคณะกรรมาธิการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วจึงจะส่งต่อไปให้รัฐสภาให้สัตยาบันต่อไป หากรัฐสภาให้สัตยาบันแล้ว ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นประเทศอนุรักษ์นิยมประเทศหนึ่ง ที่ให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยปัจจุบัน ไต้หวันเป็นประเทศแรกที่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายในภูมิภาคนี้เมื่อปีที่ผ่านมา

ร่าง พรบ. คู่ชีวิตฉบับนี้เป็นอย่างไร

ร่างกฎหมายฉบับนี้พูดถึงการที่คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ เพื่อประกาศความสัมพันธ์ และเสนอให้มีการแก้ไขเนื้อหาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จะให้สิทธิและสิทธิพิเศษ เช่นเดียวกันกับ คู่สมรสต่างเพศ โดยจะให้สิทธิทางกฎหมายแก่บุคคลทุกเพศ ทุกวัยในระดับที่เท่าเทียมกัน โดยให้คำจำกัดความของคู่ชีวิตว่า เป็นผู้ที่ยอมรับว่าเป็นคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งคู่ชีวิตนี้สามารถเลือกจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ตั้งแต่อายุ 17 ปีขึ้นไป และอย่างน้อย หนึ่งในคู่ชีวิตนี้จะต้องมีหนึ่งคนที่มีสัญชาติไทย คู่ชีวิตที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ ผู้ปกครองตามกฎหมาย หรือศาล ในฐานะคู่รักเพศเดียวกันนี้ คู่ชีวิตอาจรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม รับมรดก และมีส่วนร่วมในการจัดการมรดกได้ เช่น จัดการทรัพย์สินร่วมกัน ร่างกฎหมายนี้ยังรวมถึงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เมื่อต้องแยกทางกันด้วย

ร่างกฎหมายนี้ยังระบุไว้อีกด้วยว่า ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต คู่ชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่อาจได้รับมรดกตามที่คู่สมรสตามกฎหมายเดิมสามารถทำได้ ภายใต้ประมวลกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อมีการจดทะเบียนกัน คู่ชีวิตที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีจะถือว่าเป็นผู้ใหญ่ คู่ชีวิตคนใดคนหนึ่งสามารถกระทำการแทนหรือในนามอีกฝ่ายได้ราวกับว่าพวกเขาเป็นคู่สมรสต่างเพศอย่างถูกต้องตามประเพณี อย่างไรก็ตาม ทั้งสองคนไม่สามารถแต่งงานกันได้หากเลือกที่จะจดทะเบียนคู่ชีวิต นอกจากนี้ คู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งอาจยื่นฟ้องหย่ากับคู่ชีวิตอีกฝ่ายที่ไปมีนิติสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในฐานะคู่ชีวิตทางแพ่งได้

ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นเหตุการณ์สำคัญในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการเสริมกำลังทางสังคมให้กับครอบครัวของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศต่าง ๆ ด้วย การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวยังถือว่ามีความเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคมโดยรวมในโลก ในปัจจุบัน กระทรวงยุติธรรมในฐานะผู้เสนอร่างกฎหมายจะรับทราบถึงความมีประสิทธิผลและความท้าทายที่ร่างกฎหมายนี้อาจกำลังเผชิญอยู่ โดยจะทำการแก้ไขกฎหมายในส่วนที่จำเป็นหลังมีการเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมาย และจะทำให้แน่ใจว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวสอดคล้องกับการแก้ไขกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่แล้ว

วิวัฒนาการของร่าง พรบ. คู่ชีวิต

การส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ มีทัศนคติที่ดีและยอมรับชุมชนที่มีความหลากหลายทางเพศที่กำลังเติบโตและเรียกร้องสิทธิเพื่อกลุ่มของตัวเองมากขึ้น และการรณรงค์เพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่คนในกลุ่ม LGBTQ สามารถเข้าถึง นำไปสู่แนวคิดของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตฉบับนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ร่างกฎหมายที่จะรับรองคู่ชีวิตมีการพัฒนาขึ้นในปี 2561 แต่สภานิติบัญญัติไม่สามารถผ่านร่างได้ทันเวลาก่อนการเลือกตั้งเมื่อปีที่ผ่านมา การพัฒนาของร่างกฎหมายฉบับนี้ตอกย้ำเรื่องของความล้าหลังในภูมิภาคเมื่อไต้หวันออกกฎหมายให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันนั้นถูกกฎหมายเมื่อปีที่ผ่านมา การแต่งงานของคนเพศเดียวกันไม่ถือเป็นความผิดอาญาในเวียดนาม กระนั้น ในเวียดนามเอง การสมรสของคนเพศเดียวกันก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ภายใต้ร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ อนุญาตให้มีการใช้ชีวิตร่วมกันของคนเพศเดียวกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นการสมรสกันระหว่างคู่รักต่างเพศ

กระบวนการจัดทำร่าง พรบ. คู่ชีวิต ในประเทศไทย

ในกระบวนการจัดทำร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตในประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยเฉพาะเรื่องของกระบวนการและการจัดทำร่างกฎหมายก่อนที่จะผ่านเข้าสู่กระบวนการพิจารณาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อนำมาบังคับใช้ได้ จะต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์มาก่อน จากนั้น สภาผู้แทนราษฎรจะต้องอภิปรายและลงคะแนนเสียง หากสภาเห็นชอบแล้ว ก็ให้ส่งเรื่องให้วุฒิสภาพิจารณา อนุมัติ หรือแก้ไข การดำเนินการตรงนี้อาจใช้เวลาหลายเดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์

ยอมรับกันได้แต่ก็ยังอนุรักษ์นิยมเหมือนเดิม

ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ให้อำนาจหรืออนุญาตให้คู่ชีวิตที่เป็นเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ หรือประเทศไทยอาจดูเหมือนเปิดกว้างสำหรับบุคคลกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศและคนข้ามเพศมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่นั่นเป็นความเข้าใจผิดจริง ๆ แม้ว่าจะมีกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติทางเพศ แต่บุคคลที่อยู่ในกลุ่มหลากหลายทางเพศจำนวนมากยังคงมีอคติหรือความรุนแรงอยู่มาก หลายคนหรือส่วนใหญ่หางานเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมบันเทิงเท่านั้น หากพวกเขาทำงานในภาคส่วนหรืออุตสาหกรรมอื่น พวกเขาจะถูกบังคับให้ปกปิดอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองไว้ เนื่องจากประเทศไทยก็เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อนุรักษ์นิยมในเรื่องเพศและความสัมพันธ์ทางเพศ ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว คนเหล่านี้ยังคงรักษาค่านิยมของครอบครัวแบบดั้งเดิมเอาไว้ และมองว่า การเบี่ยงเบนทางเพศนำไปสู่ความอัปยศ รองโฆษกรัฐบาลกล่าวว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวยังคงเป็น “เหตุการณ์สำคัญ” ที่มุ่งสู่เป้าหมายของรัฐในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ

ความท้าทาย

ผู้รับผลประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ไม่ได้รู้สึกยินดีกับร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ทั้งหมด บางคนบอกว่านี่ไม่ใช่เหตุการณ์สำคัญจริง ๆ เพราะจริง ๆ แล้วกฎหมายใหม่นี้จะกลายเป็นอุปสรรคต่อการสมรส นี่คือถ้อยแถลงของเลขาธิการกลุ่ม “ฟรียูธ” (Free Youth) ซึ่งเป็นองค์กรก้าวหน้าของกลุ่มชายรักชายรุ่นใหม่ สมาชิกรัฐสภาคนแรกที่เป็นบุคคลข้ามเพศและผู้แทนจากพรรคก้าวไกลให้ความเห็นว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ให้สิทธิประโยชน์ของคู่ชีวิตแต่อย่างใด เช่น การยกเว้นภาษี สิทธิประโยชน์ประกันสังคม และกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้อ้างถึงสิทธิทางการแพทย์เลย บางคนยังคัดค้านการบัญญัติคำศัพท์ของคู่รักในกลุ่มนี้ให้แตกต่างกันว่า ศัพท์คำไหนเป็นศัพท์แบบดั้งเดิม หรือคำไหนเป็นศัพท์ที่ทันสมัย ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ทำให้พรรคก้าวไกลรณรงค์ให้มีการแก้ไขกฎหมายแต่งงานของไทยโดยให้เปลี่ยนคำศัพท์ที่ใช้ เช่น คำว่า “สามีและภรรยา” ให้เป็นคำว่า “คู่ครอง” แทนเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้การเลือกเพศมีความครอบคลุมอย่างแท้จริง พรรคก้าวไกลอธิบายว่า ร่างกฎหมายนี้เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งที่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติในมุมมืด และยังยืนยันอีกว่า คนกลุ่มนี้ไม่อยากได้อะไรที่ฟังดูพิเศษ แต่ต้องการให้ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันกับคนอื่น ๆ ทั่วไป

นอกจากนี้ ยังมีการแสดงความเห็นทางโซเชียลมีเดียผ่านแฮชแท็ก ข้อความว่า “ไม่รับร่างกฎหมายคู่ชีวิต” เพราะกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ให้สิทธิในการสมรสที่เท่าเทียม อีกทั้งยังมีประเด็นเพิ่มเติมอีกว่า ในความเป็นจริงแล้ว การสมรสของคนที่เป็นคู่รักเพศเดียวกันไม่ได้รับประกันสิทธิเช่นเดียวกับการสมรสของคู่รักชายหญิง และไม่ได้รับการยอมรับในแง่ของคู่ชีวิตเพศเดียวกันอีกด้วย เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ สมาชิกสภานิติบัญญัติไทยซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจึงร่างกฎหมายที่จะให้คำจำกัดความใหม่ของการแต่งงานมีความหมายว่าเป็นเพียงการอยู่ร่วมกันระหว่างคนสองคนเท่านั้น

การเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ถูกต้อง

แม้ในช่วงต้น ๆ จะมีปฏิกิริยาที่แสดงความไม่พอใจในหมู่ผู้รับผลประโยชน์จากร่างพระราชบัญญัตินี้ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ร่างกฎหมายนี้ก็ถูกมองว่ามีข้อดีและข้อได้เปรียบต่อชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ กฎหมายคู่ชีวิตอนุญาตให้มีการจดทะเบียนคู่ชีวิตตามกฎหมายได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและเป็นสัญญาณของการยอมรับสิทธิของพวกเขา โดยทั่วไปแล้ว ทางการไทยเชื่อว่า หากร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว ก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทางสังคมที่กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศประสบได้อย่างน่าพอใจ และให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

หากมีคำถามเกี่ยวกับหัวข้อนี้ โปรดติดต่อเรา ทนายความที่เชี่ยวชาญในคดีครอบครัวของเรายินดีที่จะตอบคำถามหรือข้อกังวลของท่าน

Category: กฎหมายครอบครัว, กฎหมายแพ่ง

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog