วิธีพิจารณาคดีอาญาของไทย: พยานบอกเล่า
ดังเช่นกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาของเขตอำนาจศาลอื่น ๆ ประเทศไทยห้ามมิให้ใช้พยานบอกเล่าในการพิจารณาคดีอาญา (มาตรา 226/3 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา) โดยทั่วไปคำบอกเล่า หมายถึง หลักฐานคำให้การของพยานที่แสดงถึงคำให้การที่ไม่ได้ทำขึ้นต่อหน้าศาล ซึ่งนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ตัวอย่างพยานบอกเล่า พยานให้การในศาลว่า พยานได้ฟังจากบุคคลอื่นว่า จำเลยได้กระทำความผิดอาญาตามที่ถูกกว่าหา และคำให้การของพยานได้ถูกใช้เพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย
เหตุผลที่อำนาจศาลทั่วโลกเกือบทุกแห่งห้ามมิให้รับฟังพยานบอกเล่า เนื่องมาจากหลักการทางกฎหมายที่ว่าจำเลยมีสิทธิที่จะซักค้านคำให้การใด ๆ ที่เสนอขัดแย้งกับเขาหรือเธอในชั้นศาลได้ เนื่องจากจำเลยไม่อาจจะซักค้านคำแถลงนอกศาลที่ทำขัดแย้งกับเขาหรือเธอ ดังนั้น หลักฐานชนิดนี้จึงต้องห้าม มิให้รับฟังข้อห้ามดังกล่าวทำให้การพิจารณาคดีอาญาเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากบังคับให้คู่ความเสนอบุคคลที่กล่าวคำบอกเล่าแสดงตัวตนต่อศาล การห้ามมิให้รับฟังพยานบอกเล่าเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากเป็นหลักบังคับใช้ในเขตอำนาจศาลไทย
คำรับสารภาพของจำเลยแก่ตำรวจ หลังจากที่เขาหรือเธอถูกจับกุมอยู่ภายใต้ข้อห้ามรับฟังพยานบอกเล่าและไม่มีน้ำหนักใด ๆ ต่อศาลในระหว่างการพิจารณาคดี นอกจากนี้ในกรณีที่ไม่มีประจักษ์พยานอันจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดทางอาญาจริง บันทึกการถูกจับกุมของจำเลย เช่นเดียวกับบันทึกคำรับสารภาพของจำเลยถือเป็นพยานบอกเล่าและต้องห้ามมิให้รับฟัง
พยานคำบอกเล่าอาจรับฟังได้ ถ้ามีปัจจัยอื่นๆที่แสดงให้เห็นว่าหลักฐานนั้นมีความน่าเชื่อถือ เช่น สภาพลักษณะ หรือแหล่งที่มาของหลักฐาน ข้อยกเว้นอีกประการหนึ่ง คือ กรณีที่บุคคล กล่าวคำบอกเล่าปรากฎ ตัวต่อหน้าศาลเพื่อเสนอคำแถลงของตนเอง เหตุผลของหลักการกฎข้อนี้ คือเพื่อป้องกันความอยุติธรรม ในกรณีที่พยานในคดีอาญาได้ถูกฆาตกรรมโดยจำเลย หรือ ถูกขัดขวางมิให้ให้การต่อศาลด้วยวิธีอื่น
กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาไทยนั้นมีความซับซ้อน หากท่านถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดคดีอาญาในประเทศไทย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากทนายความชาวไทยผู้มีความสามารถ
Category: กฎหมายอาญา
About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล