ภาษีธุรกิจเฉพาะในประเทศไทย

ภาษีธุรกิจเฉพาะในประเทศไทย

ธุรกิจในประเทศไทยจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นภาษีทางอ้อมที่คิดกับมูลค่าที่ได้รับหรือควรจะได้รับจากการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจบางประเภทภายใต้ประมวลรัษฎากรจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแทนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะจะบังคับใช้กับธุรกิจบางประเภท เช่น บริการทางการเงิน โดยความแตกต่างของต้นทุนการผลิตกับมูลค่าเพิ่มมีความไม่ชัดเจนเท่าธุรกิจประเภทอื่นๆ ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีมูลค่าเพิ่มถูกนำมาใช้แทนภาษีธุรกิจแบบเก่าในปี พ.ศ. 2535

มาตรา 91/5 แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดฐานภาษีสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะ ฐานภาษีของภาษีธุรกิจเฉพาะจะแตกต่างซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง: รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ กำไรจากการซื้อหรือขายตั๋วเงินและสกุลเงินต่างประเทศ ภาษีธุรกิจเฉพาะนำไปเก็บกับรายรับทุกรูปแบบที่เกิดจากการประกอบกิจการ ไม่ว่ารายรับนั้นจะมาจากภายในประเทศหรือต่างประเทศ

มาตรา 91/2 แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดว่าประเภทธุรกิจต่อไปนี้จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ประเภทธุรกิจตามมาตรา 91/2 ฐานภาษีตามมาตรา 91/5 อัตราภาษีตามมาตรา 91/6
การธนาคาร (ก)  ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการซื้อหรือขายหรือที่ได้จากตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ

(ข)  กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การออกตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ หรือการส่งเงินไปต่างประเทศ

(ก)   3.0%

 

(ข)    3.0%

การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ก) ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการซื้อหรือขายหรือที่ได้จากตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ

(ข) กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การออกตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ หรือการส่งเงินไปต่างประเทศ

(ก)   3.0%

  

(ข)    3.0%

การประกันชีวิต ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ 2.5%
การรับจำนำ ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายของที่จำนำหลุดเป็นสิทธิ 2.5%
การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ (ก) ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการซื้อหรือขายหรือที่ได้จากตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ

(ข) กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การออกตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ หรือการส่งเงินไปต่างประเทศ

(ก)   3.0%

 

 (ข)    3.0%

การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น 3.0%
การขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น 0.1% ขณะนี้อยู่ภายใต้การยกเว้น
การประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

 
นอกจากภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ยังมีการเรียกเก็บภาษีเทศบาลอีก 10%

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog