ผลกระทบของภาษีเงินได้สำหรับการให้กู้ยืมระหว่างบริษัทเอกชน

แนวคำวินิจฉันกรมสรรพากรลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558 ได้ให้คำแนะนำเรื่องผลกระทบของภาษีเงินได้สำหรับการให้กู้ยืมระหว่างบริษัทเอกชน จากข้อเท็จจริง บริษัท ก. เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ได้ระบุจำนวนทุนจดทะเบียน โดยไม่มีสำนักงานสาขา มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มวันที่ 1 เมษายนถึงวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี บริษัทฯ ประกอบกิจการเป็นตัวแทนให้บริการขนส่งสินค้าและได้รับการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

บริษัท ก. นำเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท (เงินฝาก) ออกเงินกู้ให้แก่ผู้ถือหุ้นรายหนึ่ง บริษัท ข. ซึ่งถือหุ้นบริษัท ก. อยู่ร้อยละ 42.499 กู้ยืมโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินมูลค่า 30,000,000 บาท ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2550 บริษัท ข. ผู้กู้ยืมเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋ว P/N และเป็นยังผู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย โดยที่ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นมีเงื่อนไขว่า บริษัท ก. สามารถดึงเงินออกทั้งจำนวนได้เมื่อทวงถาม โดยบริษัทฯ ต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรกับ บริษัท ข. และการชำระคืนตั๋วสัญญาใช้เงินจะชำระคืนภายในสองวันทำการ หากการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่มีดอกเบี้ย หรือมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงิน ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร

คำนิยามของ “ราคาตลาด” จะขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของเงินทุนนั้นๆ ที่บริษัท ก. ใช้ในการออกเงินกู้ยืม ในกรณีที่บริษัท ก. ใช้เงินทุนของบริษัทตนเอง ราคาตลาดจึงจะถูกคำนวนตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารประเภทเงินฝากประจำในวันที่มีการกู้ยืม ในทางกลับกัน หากบริษัทฯ นำเงินที่กู้ยืมมาจากบริษัทอื่นไปให้กู้ยืม ราคาตลาดควรพิจารณาตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในวันที่ได้ให้กู้ยืมเงินที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับกรณีข้างต้น อย่างไรก็ตาม หากบริษัทฯ นำเงินไปให้กู้ยืม โดยไม่สามารถแยกแหล่งเงินทุนได้ว่ามาจากเงินของตนที่มีอยู่หรือเงินที่กู้ยืมมาจากบริษัทอื่น ให้คิดดอกเบี้ยที่ได้รับในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ณ วันที่บริษัทฯ ได้กู้ยืมเงินมา

กฎหมายเกี่ยวภาษีของประเทศไทยนั้นมีความซับซ้อน ควรได้รับการปรึกษาจากทนายความที่มีความสามารถเพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบทางภาษีและกฎหมายของการประกอบธุรกิจก่อนการเริ่มดำเนินการ

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog