บีโอไอ ประเทศไทย: แพ็คเก็จกระตุ้นการลงทุนและมาตรการพิเศษ

บีโอไอ ประเทศไทย

สรุปเนื้อหางานสัมมนาบีโอไอ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีมาตรการกระตุ้นการลงทุนอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ มาตรการกระตุ้นการลงทุนมาตรฐานและมาตรการเพิ่มเติม โดยมาตรการกระตุ้นมาตรฐานดังกล่าวประกอบด้วยสิทธิและประโยชน์ตามประเภทกิจการต่าง ๆ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) น้อยกว่าหรือไม่เกิน 8 ปี และสิทธิและประโยชน์ตามเทคโนโลยี (นานโนเทคโนโลยี ดิจิทัลเทค ไบโอเทค เทคโนโลยีล้ำสมัย) ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) น้อยกว่าหรือไม่เกิน 10 ปี ส่วนมาตรการกระตุ้นการลงทุนเพิ่มเติมมี 3 ประเภท ได้แก่ สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน (Merit-based) สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามพื้นที่ (Area-based) และสิทธิและประโยชน์ตามมาตรการเฉพาะ (Agenda-based)

  • สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน (Merit-based) นั้นกำหนดตามความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ตามนโยบายของบีโอไอ 
  • สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามพื้นที่ (Area-based) จะเน้นให้สิทธิประโยชน์แก่บริษัทตามพื้นที่ที่บริษัทได้จดทะเบียนกับบีโอไอ 
  • สิทธิและประโยชน์ตามมาตรการเฉพาะ (Agenda-based) ประกอบด้วยมาตรการกระตุ้นการลงทุน มาตรการการเพิ่มกำลังการผลิต ตารการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้า

BOI Enhanced Incentives

มาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอเพื่อกระตุ้นกำลังการผลิตเพื่อมุ่งสู่การยกระดับธุรกิจห่วงโซ่อุปทานในประเทศไทย โดยที่ ธุรกิจห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่: 

  • การนำระบบอัตโนมัติมาใช้/การอัพเกรดเครื่องจักร
  • การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม 4.0
  • การนำเทคโนโลยดิจิทัลมาใช้และ
  • ลงทุนในการวิจัยและพัฒนา/การออกแบบทางวิศวกรรมชั้นสูง

บริษัทที่เข้าเกณฑ์รับสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจภายใต้สิทธิประโยชน์ตามข้อกำหนดของบีโอไอ

นอกจากนี้ บีโอไอจะจัดให้มีมาตรการทางภาษีสำหรับบริษัทที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานการเปลี่ยนแปลงระบบอัตโนมัติและอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 4.0 ตามมาตรการพักภาษีเพิ่มเติมอีก 3 วัน บริษัทที่สร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์อาจนำมาตรฐานความยั่งยืนและมาตรฐานลดคาร์บอนมาใช้ในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เช่น ลดการใช้กระดาษ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมากขึ้น

ปัจจุบัน บีโอไอ มุ่งเน้นไปที่การสร้างความสะดวกในการทำธุรกิจ โดยการเปลี่ยนกระบวนการที่ใช้กระดาษส่วนใหญ่ให้เป็นรูปแบบดิจิทัล โดยที่ บริการบีโอไอออนไลน์ (BOI e-services) หน่วยบริการลูกค้า และการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (GDX) มีให้บริการในระบบเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางปี 2565 บีโอไอได้วางแผนที่จะเปิดให้บริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน การใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนกับบีโอไอเพื่อส่งข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับบริษัทที่ขึ้นทะเบียนกับบีโอไอจะต้องใช้กระบวนการยื่นแบบอิเล็กทรอนิกส์หลังจากเดือนมิถุนายนปีที่แล้วเป็นต้นมา 

บีโอไอยังทำให้กระบวนการเข้าถึงแรงงานทักษะได้ง่ายขึ้นโดยพัฒนากระบวนการเข้าถึงวีซ่าและใบอนุญาตทำงานด้วยระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของประเทศไทย ในอนาคต “สมาร์ทวีซ่า” (Smart Visa) และวีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติ (LTR Visa) จะรวมอยู่ในระบบระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของประเทศไทยด้วย

วีซ่าพำนักระยะยาว (LTR) เป็นวีซ่าใบอนุญาตทำงานที่ออกใหม่ โดยจะออกให้ 5 ปีต่อครั้ง และสามารถต่ออายุได้ทุก 5 ปี หากมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด วีซ่าประเภทนี้ต่ออายุได้ 10 ปีสำหรับผู้สมัครและผู้อยู่ในอุปการะหรือผู้ติดตามสูงสุด 4 คน รวมถึงคู่สมรสและบุตร (อายุต่ำกว่า 20 ปี) นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้เข้าถึงบริการตรวจคนเข้าเมืองและใบอนุญาตทำงานที่ศูนย์บริการแบบครบวงจรสำหรับวีซ่าและใบอนุญาตทำงานที่ได้รับการยกเว้นโควต้าการจ้างงาน รายงาน 90 วันตามปกติจะขยายเป็นรายงาน 1 ปีและได้รับการยกเว้นใบอนุญาตเข้าประเทศอีกครั้ง 

วีซ่าพำนักระยะยาวจะมีผลบังคับใช้ 90 วันหลังจากประกาศกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาช่วงเดือนพฤษภาคม 2565

กลุ่มเป้าหมายของวีซ่าพำนักระยะยาวมีทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy Global Citizen)

  • ไม่กำหนดอายุและผู้ที่เคยสมัครวีซ่าประเภท Smart 1 ก็สมัครได้
  • มีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 
  • เข้ามาลงทุนไม่น้อยกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้: ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยที่มีอายุคงเหลือนานกว่า 5 ปี และลงทุนโดยตรงในฐานะนักลงทุนรายบุคคลหรือรายย่อย หรือลงทุนโดยตรงในอสังหาริมทรัพย์ (พร้อมหลักฐานการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน)

กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy Pensioner)

  • อายุ 50 ปีขึ้นไปและมีรายได้จากเงินบำนาญประจำ หรืออดีตผู้ขอวีซ่าเกษียณอายุ
  • มีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
  • รายได้ส่วนบุคคลน้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ไม่น้อยกว่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผู้สมัครจะต้องมีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้แก่ ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยที่มีอายุคงเหลือมากกว่า 5 ปี หรือลงทุนโดยตรงในฐานะนักลงทุนรายบุคคลหรือรายย่อย หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (พร้อมหลักฐานการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน)

กลุ่มผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand Professional) หรือผู้ทำงานทางไกลที่ทำงานให้กับนายจ้างในต่างประเทศ

  • รายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในกรณีที่รายได้ส่วนบุคคลต่อปีน้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ไม่น้อยกว่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาผู้สมัครจะต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไปหรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา หรือได้รับเงินทุนจากการระดมทุนในช่วง Series A เพื่อให้เข้าเกณฑ์ของผู้สมัครในกลุ่มนี้ 
  • ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 5 ปีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานในปัจจุบัน 
  • นายจ้างปัจจุบันต้องมีบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศใดประเทศหนึ่งหรือบริษัทเอกชนที่ดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี และมีรายได้รวมกันมากกว่า 150 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

กลุ่มผู้สมัครที่มีทักษะสูง (High-skilled Professional Working) หรืออดีตผู้สมัครวีซ่าประเภท Smart T และ E หรือผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเป้าหมาย/มืออาชีพที่มีทักษะสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย โดยทำงานให้กับหน่วยงานรัฐบาลไทย/สถาบันอุดมศึกษา ศูนย์วิจัย หรือสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทางในประเทศไทย

  • รายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในกรณีที่รายได้ส่วนบุคคลต่อปีน้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ไม่น้อยกว่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผู้สมัครจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า หรือมีความเชี่ยวชาญที่มีทักษะสูงเป็นพิเศษที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมายในประเทศไทย 
  • ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 5 ปี ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ยกเว้นผู้สมัครที่ทำงานให้กับหน่วยงานรัฐบาลไทย หรือสถาบันอุดมศึกษา หรือศูนย์วิจัยของรัฐ หรือสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทางในประเทศไทย หรือผู้สมัครที่มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาเอก ผู้สมัครใดที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อยกเว้นจะได้รับการยกเว้นจากเงื่อนไขว่าด้วยรายได้ส่วนบุคคล
  • ไม่มีข้อกำหนดว่าด้วยรายได้ส่วนบุคคลขั้นต่ำสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานให้กับหน่วยงานรัฐบาลไทย/สถาบันอุดมศึกษา ศูนย์วิจัย หรือสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทางในประเทศไทย

สำหรับกลุ่มวีซ่าทุกประเภท กรมธรรม์ประกันสุขภาพทุกประเภทให้ความคุ้มครองไม่น้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐตลอดระยะเวลาที่พำนักอยู่ในประเทศไทยหรือประกันสังคม ซึ่งความคุ้มครองครอบคลุมการรักษาตัวในโรงพยาบาลในประเทศไทย

แพลตฟอร์มการพัฒนาแรงงานทักษะสูง

บีโอไอ กำลังส่งเสริมองค์กรที่ระบุความต้องการแรงงานด้วยทุนฝึกอบรมกำลังคนซึ่งบีโอไอจะจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแก่พนักงานไทยในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ รถยนต์ และหุ่นยนต์ ศูนย์กลางทางการแพทย์ เศรษฐกิจดิจิทัล และอื่น ๆ โดยมีเงื่อนไขคือการฝึกอบรมจะต้องเสร็จสิ้นภายใน 2 ปี โดยมีค่าฝึกอบรมพนักงานต้องไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อคน และไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาทต่อบริษัท  หลักสูตรการฝึกอบรมจะต้องเป็นหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีขั้นสูงที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม พนักงานต้องเป็นคนไทยมีคุณวุฒิวิชาชีพหรือสูงกว่า และผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนพนักงานทั้งหมดหรืออย่างน้อย 30 คน 

สำหรับการฝึกอบรมประเภทภายนอกนั้น บีโอไอจะช่วยสมทบค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 50% ของค่าใช้จ่ายที่เสนอโดยผู้ให้บริการฝึกอบรมภายนอก 

ในส่วนของการฝึกอบรมภายในองค์กรนั้น บีโอไอจะช่วยสมทบค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 50% ของค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามพื้นที่ (Area-based)

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมโดยบีโอไอที่ตั้งอยู่ในเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาจได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมหากเข้าร่วมกิจกรรมตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การวิจัยและพัฒนา การออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ 50% สำหรับบริษัทที่ได้รับการลดหย่อนภาษีเป็นเวลา 5 ปีเพื่อเติมในประเภทสิทธิประโยชน์มาตรฐาน

Additional Incentives for BOI

 

BOI Tax Incentives Scheme

 

BOI Enhanced Incentives

Category: กฎหมายธุรกิจ, บีโอไอ ประเทศไทย

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog