บทนำการวางแผนการถ่ายโอนเทคโนโลยี

นักลงทุนชาวต่างชาติในประเทศไทย ผู้ที่จะลงทุนส่วนใหญ่ในการประกอบธุรกิจที่มีความเสี่ยงแต่สามารถทำกำไรได้ มีทางเลือกในการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจชาวต่างชาติ หากธุรกิจเช่นว่านั้นถูกจำกัดโดยภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจต่างชาติ พ.ศ. 2542 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การยื่นขอใบอนุญาตได้รับการอนุมัติ ผู้ยื่นคำร้องขอใบอนุญาตต้องเสนอแผนการถ่ายโอนเทคโนโลยี นักลงทุนบางรายมักประสบความสับสนและอุปสรรคเนื่องจากไม่แน่ใจงคำว่า “เทคโนโลยี” หมายความรวมถึงสิ่งใดบ้างและแผนนั้นเกี่ยวพันกับสิ่งใดบ้าง บทนำอย่างย่อของการวางแผนการถ่ายโอนเทคโนโลยี มีดังต่อไปนี้

การวางแผนการถ่ายโอนเทคโนโลยี คือปัจจัยหนึ่งที่ถูกนำมาพิจารณาให้ยินยอมอนุมัติการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจชาวต่างชาติ

มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจชาวต่างชาติ บัญญัติว่าการยินยอมให้ใบอนุญาตแก่ชาวต่างชาติในการดำเนินธุรกิจที่ถูกกำหนดขอบเขตโดยพระราชบัญญัติต้องคำนึงถึงการถ่ายโอนเทคโนโลยี ดังนั้น คณะกรรมการการประกอบธุรกิจต่างชาติ กำหนดให้ผู้ยื่นคำร้องขอใบอนุญาตเตรียมหนังสือรับรองการถ่ายโอนเทคโนโลยี ซึ่งต้องส่งมาพร้อมใบยื่นคำร้องขอใบอนุญาตส่วนที่เหลือ

การถ่ายโอนเทคโนโลยีต้องให้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงแก่ชาวไทย

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการถ่ายโอนเทคโนโลยี ไม่ได้กล่าวถึงการเปิดเผยความลับทางการค้า แต่จะกล่าวถึงการถ่ายโอนวิทยาศาสตร์ ทักษะ ประสบการณ์และวิธีการ ดังนั้น ผู้ที่ได้รับการถ่ายโอนสามารถใช้ “เทคโนโลยี” ดังกล่าวเพื่อที่จะพึ่งตนเองได้

ผู้ถ่ายโอนจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้

  • หน่วยงานต่างๆของรัฐบาล เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนชาวต่างชาติที่ถ่ายโอนเทคโนโลยีสู่ประเทศไทย สิทธิประโยชน์นี้รวมถึงการได้การยกเว้นภาษีหรือการลดภาษี ตลอดจนสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการต่ออายุวีซ่าและใบอนุญาตการทำงาน
  • การประกอบธุรกิจของนักลงทุนชาวต่างชาติจะมีการแข่งขันสูงขึ้น เนื่องจากพนักงานชาวไทยเป็นผู้รับถ่ายโอนเทคโนโลยีจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามความต้องการของธุรกิ
  • ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของบริษัทโดยรวมจะดูดีขึ้นในสายตาของพนักงานและสังคม ในอีกนัยหนึ่ง บริษัทจะสามารถสร้างระดับค่านิยมซึ่งมีมูลค่าทางการเงินในตัวเอง

กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในการประกอบธุรกิจต่างชาตินั้นมีความซับซ้อน นักลงทุนชาวต่างชาติที่สนใจจะลงทุนในประเทศไทยต้องได้รับคำปรึกษากับทนายความที่มีความสามารถในประเทศไทยก่อนเริ่มดำเนินการ

 

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog