ธปท. ประกาศการผ่อนปรนกฎเกณฑ์การค้าและแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ธปท. ประกาศการผ่อนปรนกฎเกณฑ์การค้าและแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พ.ศ. 2458 กำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตการทำงานและการจัดการโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทยตามมาตรฐานธนาคารกลางระหว่างประเทศเพื่อรักษาระบบการเงิน ระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงินให้มีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพ โดยผ่านกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้

เกี่ยวกับการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. พุทธศักราช 2485 ก็ได้ตราขึ้นพร้อมกับการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) เช่นเดียวกัน กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้กลายเป็นหลักพื้นฐานทางกฎหมายในการควบคุมการแลกเปลี่ยนในราชอาณาจักรไทย ตามหลักเกณฑ์เหล่านี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังให้รับผิดชอบในการบริหารการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั้งหมดนั้นจะต้องดำเนินการผ่านธนาคารพาณิชย์และผู้ให้บริการทางการเงินแต่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราที่ได้รับอนุญาต ตัวแทนโอนเงินที่ได้รับอนุญาตและบริษัทที่ได้รับอนุญาตที่ได้รับใบอนุญาตแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศผ่อนปรนกฎเกณฑ์การค้าและแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความเคลื่อนไหวนี้เกิดจากความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกให้เงินทุนไหลออกและลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท (สกุลเงินของประเทศไทย) ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการเกินดุลบัญชีจำนวนมากของประเทศไทย โปรดทราบว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของประเทศไทยวัดได้ที่ 214.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนธันวาคม 2562 เทียบกับ 211.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนก่อนหน้า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเป็นสินทรัพย์สำรองโดยธนาคารกลางในสกุลเงินต่างประเทศ ในทางเศรษฐศาสตร์เงินทุนไหลออกคือการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์ออกนอกประเทศ  การหลบหนีของสินทรัพย์เกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศขายสินทรัพย์ที่ถืออยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งออกไปเนื่องจากการรับรู้ถึงเศรษฐกิจที่อ่อนแอของประเทศนั้นและเชื่อว่ามีโอกาสที่ดีกว่าในต่างประเทศ

เนื่องจากเงินบาทไทยเผชิญกับแรงกดดันจากกระแสเงินทุนที่ไม่สมดุลในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่มีสภาวะภายนอกที่ไม่แน่นอนและไม่คงที่ กระทรวงการคลัง (MOF) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้ตัดสินใจผ่อนปรนหลักเกณฑ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้เงินทุนไหลออกเพื่อช่วยส่งเสริมดุลเงินทุนหมุนเวียนและลดแรงกดดันต่อเงินบาท การผ่อนปรนดังกล่าว รวมถึงการอนุญาตให้ผู้ส่งออกเก็บรักษารายได้จากต่างประเทศในเงินตราต่างประเทศ การอนุญาตให้นักลงทุนทั่วไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้โดยไม่ต้องผ่านสถาบันตัวกลางในประเทศไทยและการอนุญาตให้ธุรกิจต่างๆ และบุคคลทั่วไปโอนเงินไปต่างประเทศได้โดยอิสระมากขึ้น การปรับกฎระเบียบเหล่านี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 ด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

การนำเงินรายได้จากการส่งออกกลับมาในประเทศ

รายได้จากการส่งออกหมายถึงรายได้จากการส่งออกสินค้าที่ได้มาจากการแสวงหาผลประโยชน์ การจัดการ และ/หรือการแปรรูปทรัพยากรทางธรรมชาติ เมื่อเราพูดถึงการส่งเงินส่งออกกลับประเทศหมายความว่ารายได้จากการขาย รายได้จากการลงทุนและสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ ที่ได้จากการส่งออกจะถูกส่งกลับจากต่างประเทศไปยังประเทศบ้านเกิดของบริษัท (ผู้ส่งออก)

  • ผู้ส่งออกที่มีรายได้ต่ำกว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อใบตราส่งจะได้รับอนุญาตให้เก็บเงินนั้นไปต่างประเทศโดยไม่มีกำหนดเวลา (ผ่อนผันจากเกณฑ์ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน) ในปี 2561 ใบตราส่งที่มีมูลค่าน้อยกว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐมีจำนวนมูลค่าการส่งออกกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของการส่งออกของไทยทั้งหมด
  • ผู้ส่งออกที่มีรายรับเป็นสกุลเงินต่างประเทศเกินเกณฑ์ใหม่ข้างต้นจะได้รับอนุญาตให้ใช้รายได้เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศโดยไม่ต้องส่งเงินกลับประเทศ ผู้ส่งออกสามารถลงทะเบียนกับ ธปท. และจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นแก่ธนาคารพาณิชย์โดยไม่ต้องได้รับการอนุมัติจาก ธปท. ก่อน
  • กฎเกณฑ์เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) ที่ถือกับธนาคารในประเทศจะได้รับการปรับปรุงให้มีความยืดหยุ่นในการจัดการสกุลเงินต่างประเทศ

การผ่อนปรนข้างต้นจะช่วยให้ธุรกิจลดต้นทุนการโอนเงินและบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ธปท. ยังได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อเพิ่มเกณฑ์การส่งออกที่ไม่ต้องส่งกลับประเทศเป็น 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อใบตราส่งสินค้าภายใน 3 เดือนข้างหน้า รายได้ดังกล่าวคิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมด

การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ

หลักทรัพย์ต่างประเทศหมายถึงการลงทุนใดๆ ของกองทุน (รวมถึงสกุลเงินต่างประเทศ) ซึ่งมีตลาดหลักอยู่นอกประเทศไทยละเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดมีความจำเป็นตามสมควรเพื่อให้เกิดผลในการทำธุรกรรมของกองทุนในการลงทุนดังกล่าว หลักทรัพย์แบ่งออกเป็นตราสารหนี้ (เช่น ธนบัตร พันธบัตร และหุ้นกู้) ตราสารทุน (เช่น หุ้นสามัญ) และตราสารอนุพันธ์ (เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ฟิวเจอร์ส ออปชั่นและสวอป)

  • ผู้ลงทุนรายย่อยจะได้รับอนุญาตให้ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้สูงสุด 200,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีโดยไม่ต้องลงทุนผ่านสถาบันตัวกลางในไทย ก่อนหน้านี้จะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดในแง่ของการเป็นเจ้าของสินทรัพย์จึงจะลงทุนได้โดยตรง
  • วงเงินการลงทุนรวมที่จัดสรรให้กับนักลงทุนภายใต้การควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะเพิ่มขึ้นเป็น 150 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การผ่อนคลายนี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับความต้องการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้ลงทุนจะสามารถรักษาวงเงินการจัดสรรเพื่อการลงทุนได้เป็นระยะเวลานานขึ้น จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนและบริหารจัดการการลงทุนได้

การโอนออก

  • การโอนออกซึ่งในปัจจุบันได้รับอนุญาตตามเงื่อนไขรายละเอียดที่กำหนดไว้ (positive list) จะได้รับอนุญาตโดยอิสระ ยกเว้นสำหรับวัตถุประสงค์บางรายการ (negative list) ซึ่งรวมถึงการตั้งหนี้ FX/THB กับสถาบันการเงินต่างประเทศ
  • บุคคลที่ประสงค์จะย้ายไปต่างประเทศหรือโอนเงินให้ญาติในต่างประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างอิสระ ในขณะที่ผู้ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศจะได้รับอนุญาตให้ทำได้สูงถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเช่นเดิม แต่ปัจจุบันทรัพย์สินสามารถอยู่ในชื่อของสมาชิกครอบครัวได้ การผ่อนปรนนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการอพยพตลอดจนส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศได้
  • เมื่อดำเนินการโอนเงินออกนอกประเทศที่มีมูลค่าน้อยกว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากเกณฑ์ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องจัดเตรียมเอกสารให้กับธนาคารพาณิชย์อีกต่อไป เพื่อลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารและอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างง่ายดาย

การชำระการซื้อขายทองคำในเงินตราต่างประเทศ

ผู้ลงทุนไทยจะได้รับอนุญาตให้ซื้อขายทองคำเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้ (ผ่านบัญชี FCD ที่เปิดกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศ) กับบริษัทซื้อขายทองคำที่ได้รับอนุมัติจาก ธปท. ก่อนหน้านี้ธุรกรรมดังกล่าวสามารถทำได้เฉพาะสกุลเงินบาทเท่านั้นเพื่อลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทจากธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับทองคำ ผู้ลงทุนสามารถเก็บเงินสกุลต่างประเทศจากการลงทุนในทองคำไว้ในบัญชี FCD ของตน โดยไม่ต้องแลกเป็นเงินบาทในการซื้อครั้งต่อไป การผ่อนปรนนี้จะเพิ่มทางเลือกในการลงทุนสำหรับนักลงทุนและจะสอดคล้องกับกฎระเบียบการลงทุนของต่างประเทศที่ผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้ ธปท. ยังเตรียมอนุมัติการซื้อขายทองคำล่วงหน้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศในระยะต่อไปอีกด้วย

จากการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยมุ่งหวังที่จะสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่นคงและพัฒนาระบบการเงินไทย จุดมุ่งหมายนี้เป็นการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและตอบสนองต่อภูมิทัศน์ทางการเงินทั่วโลก นอกจากนี้ความเคลื่อนไหวของธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ยังมุ่งเป้าไปที่การทำให้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพ มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นเดียวกัน

Category: กฎหมายธุรกิจ, บีโอไอ ประเทศไทย

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog