จะหย่าในประเทศไทย…ต้องทำอย่างไร

จะหย่าในประเทศไทย

ชีวิตแต่งงานเป็นเรื่องยาก และสำหรับการแต่งงานระหว่างชาวอเมริกันและชาวไทย ความแตกต่างกันของคนทั้งคู่สร้างความตื่นเต้นและความสดชื่นให้กับความสัมพันธ์ของทั้งสองได้ แต่ก็เป็นอุปสรรคได่เช่นกัน เพราะเรื่องของความแตกต่างนั้นขัดขวางไม่ให้ทั้งคู่สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างการแต่งงานได้ ในกรณีส่วนใหญ่ คู่สมรสที่เพิ่งแต่งงานกันก็จะต้องมาแยกจากกัน และในบางกรณี พฤติกรรมของอีกฝ่ายทำลายความสัมพันธ์ชีวิตสมรสของพวกเขาลง ในประเทศไทย การหย่าร้างทำได้ 2 ช่องทาง หากคู่กรณีตกลงกันเรื่องการหย่าร้างและกำหนดเงื่อนไขการหย่าร้างเรียบร้อยแล้ว ทั้งคู่ก็สามารถเดินทางไปยังอำเภอที่เคยจดทะเบียนสมรสและทำการหย่าที่นั่นได้ หากไม่เงื่อนไขหลังแต่งงานไม่ลงตัว กระบวนการหย่าก็จะยากขึ้นแบบทวีคูณ

ตามกฎหมายไทยแล้ว การหย่าอาจเกิดจากความยินยอมร่วมกันเพื่อที่จะหย่า หรือมีคำพิพากษาของศาลให้หย่าได้ ทั้งนี้ การหย่าโดยความยินยอมร่วมกันต้องทำเป็นหนังสือและลงนามรับรองโดยพยานอย่างน้อยสองคน หนังสือแจ้งยินยอมหรือตกลงที่จะหย่าจะต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขการหย่าร้างและยื่น ณ สถานที่จดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะต้องนำสัญญาหย่าร้าง ต้นฉบับทะเบียนสมรส และเอกสารประจำตัวของทางราชการมาที่อำเภอเมื่อยื่นฟ้องหย่า

หากการหย่าต้องผ่านระบบศาล ทั้งคู่จะต้องมีเหตุผลในการฟ้องหย่าที่สมเหตุสมผล คู่ความสามารถยื่นคำร้องขอหย่าได้ โดยคำร้องจะต้องอ้างถึงเหตุที่จะหย่าอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่น
  2. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประพฤติมิชอบทำให้เกิดความอับอาย ดูหมิ่น หรือเกลียดชังต่ออีกฝ่าย
  3. ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำร้ายร่างกายหรือจิตใจคู่สมรสหรือบิดามารดาของคู่สมรส
  4. ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี หรือถูกจำคุกเป็นเวลานานกว่าหนึ่งปีเนื่องจากความผิดทางอาญาและอีกฝ่ายไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมนั้น
  5. ทั้งสองฝ่ายแยกกันอยู่มานานเกินสามปี
  6. ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นบุคคลหายสาบสูญ
  7. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร และทั้งสองฝ่ายไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้อีกต่อไป
  8. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลทุพพลภาพทางจิตมานานกว่า 3 ปีแล้ว
  9. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
  10. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีโรคติดต่อและอันตรายซึ่งรักษาไม่หายและอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้
  11. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับบาดเจ็บทางร่างกายจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันในฐานะสามีภริยาได้

กระบวนการฟ้องหย่าให้เริ่มต้นโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องขอหย่าต่อศาลครอบครัว และจะมีการจัดทำเอกสารเพื่อการฟ้องหย่าอีกชุดส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง หลังจากไปศาลนัดแรก ศาลจะให้คู่สามีภรรยาที่ประสงค์จะหย่าเข้าร่วมการไกล่เกลี่ยก่อน หากทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเงื่อนไขการหย่าร้างกันได้ จะมีการทำบันทึกเงื่อนไขเหล่านั้นเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อส่งให้ศาลประทับรับเป็นคำพิพากษาตามยอม

หากสามีภรรยาไม่สามารถตกลงกันได้ ก็มักจะเข้าสู่กระบวนการของศาลตามปกติ โดยมีการ สืบพยานเกิดขึ้น หลังจากสืบพยานเสร็จ ศาลจะพิพากษาคดีหย่าภายใน 30 วัน กระบวนการศาลเป็นเรื่องยุ่งยากมาก และขอแนะนำให้สามีภรรยาที่ประสงค์จะหย่ามีทนายความที่เชี่ยวชาญในคดีครอบครัวและมีประสบการณ์ไปศาลด้วยทุกครั้ง

หากต้องการคำปรึกษาด้านกฎหมาย โปรดติดต่อ 02 254 8900 หรือ 1-877-252-8831 (โทรฟรีในสหรัฐฯ) ตามเวลากรุงเทพฯ

Category: กฎหมายครอบครัว

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog