จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายไทย ต้องรู้อะไรบ้าง

Registering Trademark in Thailand

หลักการสำคัญของกฎหมายเครื่องหมายการค้าไทยคือ คำต่าง ๆ ที่อ้างอิงถึงคุณภาพหรือลักษณะของสินค้าโดยตรงจะไม่ถือว่ามีความบ่งเฉพาะและไม่สามารถจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ ตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 อย่างไรก็ตาม มาตรา 7 วรรคสาม ยังระบุด้วยว่า จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้หากพิสูจน์ได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีการขายหรือโฆษณาอย่างแพร่หลายตามกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคือ เครื่องหมายการค้ามักอ้างอิงถึงคุณภาพหรือลักษณะของสินค้าโดยตรง ซึ่งคำพิพากษาศาลฎีกาต่อไปนี้จะช่วยให้ประเด็นนี้เกิดความกระจ่างขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7690/2556

โจทก์ได้ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าของในคำภาษาอังกฤษว่า “HYDRO SAFE” สำหรับสินค้า จำพวกที่ 3 (รายการเจลแต่งผม ครีม ฯลฯ) ซึ่งถูกนายทะเบียนปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า คำดังกล่าวอ้างอิงถึงคุณภาพหรือลักษณะของสินค้าโดยตรง ศาลพิพากษาให้นายทะเบียนเห็นชอบและวิเคราะห์ประเด็นดังต่อไปนี้

  • ตามพจนานุกรมฉบับภาษาอังกฤษ-ไทย (ฉบับห้องสมุด) โดยศาสตราจารย์วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม คำภาษาอังกฤษคำว่า “HYDRO” หมายถึง ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานน้ำ หรือใช้เป็นคำนำหน้าหรือคำอุปสรรคเพื่อให้หมายถึง “น้ำ” ส่วนคำภาษาอังกฤษคำว่า “SAFE” หมายถึง ความปลอดภัย หรือ ภาวะที่ไม่ได้รับอันตรายหรือเป็นภัย เมื่อรวมกันแล้วสามารถเข้าใจได้ว่า หมายถึง พลังน้ำ น้ำ หรือไฮโดรเจนที่ปลอดภัยหรือไม่เป็นอันตราย
  • ศาลรับทราบว่า เจลจัดแต่งทรงผมเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องอาศัยสารเคมี จึงจะนำไปใช้ตามผลที่ตั้งใจไว้ได้ นอกจากนี้ ศาลได้ศึกษาข้อความที่เขียนบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ของโจทก์เพื่อสรุปว่า คำว่า “HYDRO SAFE” มีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคว่า สารเคมีที่ใช้ในเจลแต่งผมมีไฮโดรเจนซึ่งปลอดภัยต่อการใช้งาน ดังนั้น ศาลจึงสรุปว่า เครื่องหมายการค้าที่กำลังเป็นข้อพิพาทนั้นอ้างถึงคุณภาพหรือลักษณะของสินค้า
  • โจทก์ยังแย้งอีกว่า เครื่องหมายการค้าอาจนำมาจดทะเบียนได้เมื่อมีการขายและโฆษณาอย่างกว้างขวาง เพื่อสนับสนุนข้อกล่าวอ้างนี้ โจทก์ได้ยื่นเรื่องว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนแล้ว ตลอดจนมีการเผยแพร่และโฆษณาอย่างกว้างขวางในหลายประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่าผลิตภัณฑ์ของโจทก์ได้รับการจำหน่ายหรือโฆษณาอย่างกว้างขวางในประเทศไทยจนถึงจุดที่ประชาชนทั่วไปหรือบุคคลในสาขาที่เกี่ยวข้องยอมรับเครื่องหมายการค้านั้น ศาลจึงปฏิเสธข้อโต้แย้งของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9466/2554

โจทก์ได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “BIOFRESH” สำหรับสินค้า จำพวกที่ 11 (รายการตู้เย็นและตู้แช่แข็ง) ซึ่งนายทะเบียนปฏิเสธและไม่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ เนื่องจากรายละเอียดการจดเครื่องหมายการค้านั้นอ้างถึงคุณภาพหรือลักษณะของสินค้าโดยตรง ทั้งนี้ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ายืนยันการปฏิเสธว่า ตามพจนานุกรมอังกฤษ-ไทยฉบับใหม่ โดยศาสตราจารย์วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม โดยคำในภาษาอังกฤษคำว่า BIO เป็นคำนำหน้าหรือคำอุปสรรคเพื่อให้หมายถึง ชีวิต และ “FRESH” แปลว่า สด ใหม่ หรือชัดเจน เมื่อนำมารวมกันหมายถึง บางอย่างที่มีผลต่อธรรมชาติในการ “คงสภาพความสด” ดังนั้น คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงตัดสินว่า เครื่องหมายการค้านี้อ้างอิงถึงคุณภาพหรือลักษณะของสินค้าโดยตรง เนื่องจากเป็นการอธิบายถึงความสามารถในการทำงานของตู้เย็นหรือตู้แช่แข็ง ศาลฎีกาไทยกลับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้ยกฟ้องโจทก์

ศาลตั้งข้อสังเกตในตอนแรกว่าคำว่า “BIO” และ “FRESH” เมื่อนำมารวมกันเป็น “BIOFRESH” จริง ๆ แล้วไม่มีคำจำกัดความใด ๆ ในพจนานุกรม ดังนั้น “BIOFRESH” จึงเป็นคำที่คิดค้นขึ้น นอกจากนี้ แม้ว่าจะเป็นไปตามความหมายที่แท้จริงของคำทั้งสองที่นำมารวมกัน ซึ่งก็คือ “สิ่งมีชีวิตที่สดใหม่” คำเหล่านั้นก็ทำหน้าที่เป็น “เครื่องหมายเชิงแนะนำ” เท่านั้น ศาลกำหนดเครื่องหมายเชิงแนะนำนี้ให้หมายถึง เครื่องหมายการค้าที่ทำหน้าที่แนะนำผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภคเท่านั้น ในกรณีนี้ “BIOFRESH” จะทำให้ผู้บริโภคจินตนาการได้ว่า ผลิตภัณฑ์ของโจทก์จะช่วยรักษาเนื้อสัตว์ ผัก ฯลฯ ให้อยู่ในสภาพที่สดใหม่

หากเครื่องหมายการค้าของคุณถูกปฏิเสธในประเทศไทย อาจมีเหตุผลในการอุทธรณ์การปฏิเสธนั้น อย่างไรก็ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าไทยมีความซับซ้อน ดังนั้นคุณควรปรึกษาที่ปรึกษากฎหมายที่มีความสามารถเสมอ

_________

1 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา ตามมาตรา 7 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. พ.ศ. 2534 ออกใช้วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2546

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog