คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสนธิสัญญาทางไมตรี

จุดประสงค์ของบทความนี้ คือการตอบคำถามที่มักถูกยกมาถามเป็นประเด็น โดยลูกความอันเกี่ยวกับสนธิสัญญาทางไมตรี ระหว่างราชอาณาจักรไทย-สหรัฐอเมริกา ที่อนุญาตให้พลเมืองและบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ ได้รับการยกเว้นจากข้อจำกัดส่วนใหญ่แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ พ.ศ. 2542 แม้ว่าความหมายของสนธิสัญญาทางไมตรีนั้นค่อนข้างจะตรงไปตรงมา กฎหมายนั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อยและมีหลายประเด็นซึ่งอาจเป็นอุปสรรคสำหรับธุรกิจของสหรัฐฯที่กำลังมองหาการลงทุนในประเทศไทยภายใต้สนธิสัญญาดังกล่าว ประเด็นที่สำคัญมีดังนี้

การที่พลเมืองชาวสหรัฐฯ เข้าเป็นตัวแทนในสนธิสัญญาทางไมตรีในนามของบริษัทไม่ใช่ของชาวสหรัฐฯ

แม้ว่าพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ จะบัญญัติให้การที่บุคคลสัญชาติไทย เป็นตัวแทนถือหุ้นให้แกชาวต่างชาติเป็นความผิด แต่ไม่ได้บัญญัติอย่างชัดแจ้งว่า การที่มีตัวแทนผู้ถือหุ้นที่ถือสัญชาติอเมริกันตามสนธิสัญญาของบริษัท เป็นความผิดทางอาญา ดังนั้น อย่างน้อยในทางทฤษฏี ผู้ที่ถือสัญชาติอเมริกันสามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนสำหรับชาวต่างชาติอื่นที่ไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกันได้ อย่างไรก็ตามข้อกำหนดที่กำหนดโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อย่างไรก็ดี การออกหนังสือรับรองสนธิสัญญาทางไมตรีแล้ว ทำให้ผู้ที่ถือสัญชาติสหรัฐอเมริกันทำหน้าที่เป็นตัวแทนได้ยากยิ่งขึ้น ซึ่งจะอธิบายต่อไปในภายหลัง

ชาวต่างชาติที่ไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกันสามารถมีส่วนร่วมในสนธิสัญญาทางไมตรีของบริษัทได้มากเพียงใด

ชาวต่างชาติที่ไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกันซึ่ง รวมถึงผู้ที่ถือสัญชาติไทยมีสิทธิลงทุนได้เพียง 49.99% ของทุนทั้งหมด ในบริษัทที่มีสนธิสัญญาทางไมตรีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติที่ไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกัน ไม่รวมผู้ที่ถือสัญชาติไทย (กล่าวคือ บุคคลสัญชาติที่สาม) โดยทั่วไปไม่ได้สามารถให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการบริษัท โดยมีข้อยกเว้นในบางกรณี บุคคลสัญชาติที่สามได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการบริษัท ถ้ามีจำนวนมากกว่าชาวอเมริกันหรือชาวไทย นอกจากนี้ ยังสามารถลงนามในนามของบริษัทได้เฉพาะ ในกรณีที่ลงนามร่วมกับกรรมการชาวไทยหรือชาวอเมริกันเท่านั้น

บริษัทของสหรัฐฯกับผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่สัญญาติอเมริกัน หรือผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนบริษัทที่มีสนธิสัญญาทางไมตรี ภายใต้เงื่อนไขเช่นไรบ้าง

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อนุญาตเฉพาะนิติบุคคลที่จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาที่มีผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันและมีกรรมการผู้มีอำนาจลงนามเป็นชาวอเมริกันที่จะได้รับการคุ้มครองภายใต้สนธิสัญญาทางไมตรี ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทสหรัฐฯ เป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติในการจดทะเบียนสนธิสัญญาของบริษัทด้วยสิทธิของตนเองภายใต้บริษัทที่จะทำเช่นนั้น

สนธิสัญญาทางไมตรีอนุญาตให้ชาวอเมริกันและบริษัทที่มีสิทธิในการประกอบธุรกิจดำเนินการถูกกำหนดขอบเขตภายใต้กฎหมายเฉพาะหรือไม่

ไม่ สนธิสัญญามีผลบังคับใช้โดยทางพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ เนื่องจากมาตราที่ 13 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ กำหนดให้กฎหมายเฉพาะซึ่งวางระเบียบส่วนความเป็นเจ้าของของชาวต่างชาติในธุรกิจบางประเภทมีอำนาจเหนือว่าพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายเฉพาะใดๆที่มีอำนาจเหนือกว่าสนธิสัญญาทางไมตรี ตัวอย่างเช่น ถึงแม้ว่าสนธิสัญญาไม่ได้ห้ามชาวอเมริกันประกอบธุรกิจท่องเที่ยว แต่พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ที่ได้วางหลักเฉพาะจำกัดการลงทุนของชาวต่างชาติในธุรกิจการท่องเที่ยวนั้นเป็นกฎหมายเฉพาะ ดังนั้น พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์จึงมีอำนาจบังคับเหนือกว่าสนธิสัญญาทางไมตรี

สนธิสัญญาทางไมตรีนั้นมีความซับซ้อน นักลงทุนชาวอเมริกันที่สนใจจะประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้สนธิสัญญาทางไมตรีควรได้รับการปรึกษาจากทนายความที่มีความสามารถก่อน

 

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog