ความรู้เบื้องต้นว่าด้วย “เหตุสุดวิสัย” (Force Majeure)

“เหตุสุดวิสัย” (Force Majeure) หรือที่เรียกว่า “ภัยธรรมชาติ” มักจะพูดถึงสถานการณ์คู่สัญญาในสัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือพันธะผูกพันได้ และในหลายกรณีเกิดจากสถานการณ์ที่ยากลำบากอันเนื่องจากสถานการณ์นั้น ๆ อยู่นอกเหนือการควบคุมของคู่สัญญา ซึ่งโดยปกติแล้ว คู่สัญญาฝ่ายที่เผชิญกับเหตุสุดวิสัยและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้จากเหตุสุดวิสัยจะได้รับการคุ้มครองและเยียวยาเมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขหลังต้องเผชิญเหตุสุดวิสัยนั้น และดังนั้น ไม่จำเป็นต้องรับผิดที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว ข้อความว่าด้วยเหตุสุดวิสัยจะยังพูดถึงยกเลิกภาระผูกพัน ระงับ หรือขยายระยะเวลาในการปฏิบัติตามสัญญาหรือภาระผูกพัน อันเนื่องมาจากเหตุหรือพฤติการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของคู่สัญญา 

ตัวอย่างของเหตุสุดวิสัย ได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เป็นปกติและพ้นความสามารถที่จะป้องกัน เช่น การเกิดสงคราม ภัยที่มีผลพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน รวมถึง โรคระบาด และ/หรือ โรคระบาดใหญ่ ซึ่งโดยปกติแล้ว หากมีเหตุอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากนี้ คู่สัญญาสามารถระบุตัวอย่างของเหตุสุดวิสัยในสัญญาให้ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม สัญญาจำนวนมากอาจไม่ได้ระบุเรื่องของเหตุสุดวิสัยเอาไว้ และบ่อยครั้งที่ ข้อความในสัญญาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็น “เหตุสุดวิสัย” แต่ข้อความนั้น ๆ อาจมีผลบังคับในเรื่องของเหตุสุดวิสัยได้เช่นกัน แต่ในกรณีที่สัญญานั้นไม่มีข้อความเกี่ยวกับเหตุสุดวิสัย หลักประการหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้คู่สัญญาพ้นความรับผิดเมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาอันเกิดจากเหตุสุดวิสัยได้คือ หลักปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจคาดหมายได้ (Doctine of Impracticability) ซึ่งอาจให้คู่สัญญาไม่ต้องมีภาระผูกพันหรือหน้าที่ต่อกันตามที่เคยกำหนดในสัญญาได้ ทั้งนี้ การมีข้อสัญญาว่าด้วยเรื่องเหตุสุดวิสัยจะดีกว่าไม่ได้ระบุไว้ และหากมีการระบุข้อสัญญาว่าด้วยเหตุสุดวิสัยขึ้น ข้อความจะต้องระบุสิทธิที่คู่สัญญาต่างฝ่ายมีและหน้าที่ในการอ้างสิทธิด้วย    

“เหตุสุดวิสัย” ในบริบทกฎหมายไทยนั้นมีการะบุในตัวบทกว้าง ๆ โดยเฉพาะในมาตรา 8 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความว่า เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นหรือเกิดเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ หรือกีดกันมิให้บุคคลนั้นปฏิบัติตามสัญญาได้ แม้บุคคลนั้นจะใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และเหมาะสมตามสมควรแล้วก็ตาม 

การระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่

ธุรกิจจำนวนมากและข้อตกลงเชิงสัญญาส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวางจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นี้อาจทำให้สัญญาสิ้นสุดลง เนื่องจากธุรกิจไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาตามทำกันไว้ได้ และอาจส่งผลเสียต่อธุรกิจของคู่สัญญา ดังนั้น ในการร่างสัญญาต่าง ๆ ในอนาคตควรพิจารณาดูด้วยว่า คู่สัญญาจะต้องบรรเทาผลกระทบจากจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างไร เมื่อต้องปฏิบัติตามภาระผูกพันที่จะเป็นประโยชน์ต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่อ้างประโยชน์จากเหตุสุดวิสัยจะต้องแสดงให้เห็นก่อนว่า เหตุใดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงทำให้เกิดความล่าช้าหรือทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้

“เหตุสุดวิสัย” ที่สามารถใช้อ้างในสัญญาได้ เช่น:

  • เหตุที่ทำให้คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามภาระผูกพันที่กำหนดไว้ในสัญญา:
  • ในกรณีที่เวลาเป็นสาระสำคัญ คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ในช่วงที่เกิดเหตุสุดวิสัย 
  • และแม้หลังจากเกิดเหตุสุดวิสัยแล้ว ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ 

ในการอ้างเหตุสุดวิสัย ถึงแม้จะได้มีการระบุเหตุสุดวิสัยไว้ในสัญญาแล้วก็ตาม ภาระการพิสูจน์จะตกเป็นของฝ่ายที่อ้างเพื่อพิสูจน์ต่อศาลว่า โรคระบาดส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อคดีอย่างไร และเกิดความล่าช้าหรืออย่างไรและเป็นอุปสรรคให้คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงของสัญญาได้อย่างไร ในกรณีที่คู่สัญญาอาจปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่อาจสร้างความยุ่งยากมากขึ้น หรืออาจให้เกิดค่าเสียหายมากกว่าที่ควรจะเป็น จะไม่อาจใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ หากคู่สัญญาสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขว่าด้วยเหตุสุดวิสัยได้ คู่สัญญาอาจยังคงต้องรับผิดในการชดเชยอันเกิดจากความล่าช้าในการปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาได้

พูดง่ายๆ ก็คือ เรามักนึกถึงสองสิ่งนี้:

  1. สัญญามีการระบุเรื่อง “เหตุสุดวิสัย” เกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือการล้มล้างรัฐบาล หรือผลจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรือไม่
  2. เหตุการณ์นั้นส่งผลกระทบต่อความสามารถในการปฏิบัติตามสัญญาจนต้องแจ้งคู่สัญญาอีกฝ่ายว่าจะสามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ล่าช้า สั่งให้มีการหยุดงานชั่วคราว หรือยกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนหรือไม่

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ หรือการปฏิบัติตามสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่สามารถต่อยอดทำอะไรได้

ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและการจัดการพัสดุของไทยได้เผยแพร่แนวปฏิบัติในการบริหารสัญญาระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และประกาศว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้าข่ายเป็นเหตุสุดวิสัย นอกจากนี้ ดังตัวอย่างนี้ สัญญาที่ทำระหว่างภาครัฐและเอกชนก่อนสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และได้รับผลกระทบจากสัญญาดังกล่าว จะมีการหักทบ หรือยกเว้นค่าธรรมเนียม ในกรณีที่ถึงกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ หรือขยายระยะเวลาสัญญาแล้ว เพื่อให้เอกชนสามารถดำเนินการตามเงื่อนไขสัญญาได้ ในกรณีการส่งมอบ เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจแต่งตั้งตัวแทนเพื่อตรวจสอบและรับมอบ หรืออาจเลื่อนการส่งมอบออกไปจนกว่าจะพร้อมดำเนินการก็ได้ เหตุสุดวิสัยในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563

มาตราที่ว่าด้วย “เหตุสุดวิสัย” คือ มาตรา 219 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดว่า “ลูกหนี้พ้นจากภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา หากการชำระนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้ อันเนื่องมาจากพฤติการณ์ที่ตนไม่ต้องรับผิดชอบ หรือเกิดขึ้นภายหลังจากเกิดภาระผูกพัน หากลูกหนี้ได้ก่อหนี้แล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้ก็เท่ากับมีพฤติการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้” ตัวอย่าง เช่น เมื่อรัฐบาลสั่งให้บริษัทหยุดดำเนินกิจการ  บริษัทก็จะหลุดพ้นจากพันธผูกพันนั้นทันที อย่างไรก็ตาม ศาลไทยมีแนวโน้มที่จะตัดสินว่า ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจะได้รับค่าชดเชยบางส่วนจากการไม่ปฏิบัติตามภาระผูกพันเป็นอย่างน้อย เว้นแต่คำสั่งศาลจะไม่เป็นธรรมต่อคู่สัญญาที่ไม่สามารถรับมือกับเหตุสุดวิสัยนั้นได้

นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังได้ประกาศให้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถือเป็นเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติประกันสังคม (“สปส”) สำหรับกรณีที่มีผลกระทบต่อนายจ้างและ/หรือลูกจ้างอย่างรุนแรงจนทำให้นายจ้างไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ และพนักงานหยุดงานชั่วคราว สำนักงานประกันสังคม (“สปส.”) ประกาศว่า ลูกจ้างที่เอาประกันกับ สปส. จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ เว้นแต่จะไม่เข้าเงื่อนไข

ในกรณีที่ธุรกิจหยุดชะงัก อันเป็นผลมาจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 บริษัทต่าง ๆ จำใจต้องลดจำนวนพนักงานลงอย่างเลี่ยงไมไ่ด้เพื่อลดค่าใช้จ่าย ส่วนลูกจ้างจะถูกเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นอกจากนี้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานจะถือเป็นการเลิกจ้างโดยมิชอบหรือไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจส่งผลให้มีโทษปรับหรือจำคุกตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น ในกรณีนี้ โรคระบาดหรือเหตุสุดวิสัยจึงไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่จ่ายค่าจ้างหรือเลิกจ้างพนักงานโดยไม่ถูกกฎหมาย เว้นแต่จะมีการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันควร

โดยสรุป สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสัญญาการค้า รวมถึงสัญญาประเภทอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามภาระผูกพันที่มีต่อลูกจ้าง ผู้ให้เช่า หรือบุคคลอื่น หากมีการอ้างเหตุสุดวิสัย จะมีผลบังคับใช้หรือไม่ เนื่องจากเหตุสุดวิสัยไม่ได้ทำให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญา เว้นแต่คู่สัญญาจะปฏิบัติตามสัญญาไมไ่ด้จริง ๆ ดังนั้น ในการอ้างถึงเหตุสุดวิสัย จะต้องเชื่อมโยงสาเหตุและผลกระทบเข้าด้วยกัน และจะต้องดูเป็นรายกรณีไป เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในแต่ละกรณีอาจแตกต่างกัน

ประเด็นสำคัญ

  • “เหตุสุดวิสัย” ไม่ใช่ใบอนุญาตให้ธุรกิจหยุดประกอบกิจการ: ข้อกำหนดในข้อความว่าด้วยเหตุสุดวิสัยที่จำเพาะนั้นมีความสำคัญมาก และคู่สัญญาจะต้องแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาได้ปฏิบัติตามสัญญาอย่างต่อเนื่องตามแผนที่กำหนด
  • อย่าคาดหวังการอนุโลมจากศาล: พึงระลึกไว้เสมอว่า ศาลมักจะพิจารณาข้อกำหนดว่าด้วยเหตุสุดวิสัยค่อนข้างแคบ ซึ่งหมายความว่า อย่าได้คาดหวังว่า ศาลจะอนุโลมให้หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น และโดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับเหตุสุดวิสัย และหากเป็นไปได้ ควรพยายามปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาให้มากที่สุด
  • การสื่อสารที่เปิดกว้างและบ่อยครั้งเป็นกุญแจสำคัญ: การสื่อสารที่เปิดกว้างและบ่อยครั้งสามารถช่วยลดความตึงเครียดจากการต้องพึ่งพาข้อกำหนดว่าเหตุฉุกเฉิน หากคู่สัญญาหรือคู่ค้าสามารถตกลงกันเกี่ยวกับวิธีการดำเนินธุรกิจร่วมกันได้ นั่นจะง่ายกว่าการโต้เถียงกัน และต้องต่อสู้กันในศาลเรื่องข้อกำหนดว่าด้วยเหตุสุดวิสัย

โดยทั่วไป วิธีที่ดีที่สุด คือหลีกเลี่ยงข้อพิพาททางกฎหมาย เนื่องจากข้อพิพาทอาจยืดเยื้อ และฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายอาจสูญเสียผลประโยชน์จากสัญญา

Category: กฎหมายแพ่ง

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog