การสืบทอดมรดกตามพินัยกรรมภายใต้กฎหมายประเทศไทย
การสืบมรดกเป็นวิธีหนึ่งในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล(ผู้ทำพินัยกรรม) จะถูกส่งต่อไปยังทายาท ผู้รับพินัยกรรม ผู้ได้รับมรดก เมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย การสืบมรดกในประเทศไทยมีแบบการรับมรดกตามพินัยกรรมและการรับมรดกตามกฎหมาย
การสืบทอดมรดกตามพินัยกรรมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลที่ทำพินัยกรรมเสียชีวิตและระบุชื่อทายาท ลักษณะการแจกจ่ายทรัพย์สินของตนบนพินัยกรรม พินัยกรรมคือการแสดงเจตนาโดยบุคคลที่ควบคุมทรัพย์สินภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งเจตนาจะเป็นผลก็ต่อเมื่อบุคคลที่ทำพินัยกรรมเสียชีวิต พินัยกรรมเปรียบเสมือนคำอธิบายทรัพย์สินและเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม โดยมีจุดประสงค์หลักคือแจกจ่ายทรัพย์สินเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมจะระบุสัดส่วนแจกจ่ายได้อย่างเฉพาะเจาะจงและกำหนดทรัพย์สินให้กับทายาท ผู้รับพินัยกรรม ผู้ได้รับมรดก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยได้กำหนดรูปแบบของพินัยกรรมที่สามารถกระทำได้โดยถูกต้องตามกฎหมายภายในราชอาณาจักร โดยพินัยกรรมสามารถจัดทำได้ผ่านรูปแบบดังต่อไปนี้
- พินัยกรรมทำเป็นลายลักษณ์อักษร ลงวันที่ทำพินัยกรรมและลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานไม่ต่ำกว่า 2 คนในขณะนั้น โดยพยานทั้งสองคนจะต้องลงนามรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม
- พินัยกรรมทำเป็นเอกสารพินัยกรรม ต้องเขียนด้วยลายมือของผู้ทำพินัยกรรมเองทั้งฉบับ ลงวันเดือนปีและลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม
- พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งข้อความที่ประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมต่อกรมการอำเภอและต่อหน้าพยานไม่ต่ำกว่า 2 คน จากนั้นข้อความที่ประสงค์จะถูกอ่านต่อหน้าแก่ผู้ทำพินัยกรรมและพยาน จากนั้นจึงจะลงลายมือชื่อโดยผู้ทำพินัยกรรมและพยาน ข้อความที่กรมการจดบันทึกไว้จะลงวันที่และลงนามส่วนหลังโดยผู้ที่รับรองและประทับตรา
- พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ เป็นพินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความ วันที่ ประทับตราและลงลายมือชื่อด้วยตนเอง เอกสารปิดผนึกจะต้องเสนอต่อกรมการอำเภอและต้องมีพยานไม่ต่ำกว่า 2 คน จากนั้นจึงประกาศว่าในเอกสารนี่คือพินัยกรรม
- พินัยกรรมทำด้วยวาจา ทำขึ้นเมื่ออยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมได้ เช่น ผู้ทำพินัยกรรมตกอยู่ในอันตรายใกล้จะถึงแก่ความตายหรือในระหว่างที่มีโรคระบาดหรือสงคราม หรือบุคคลนั้นถูกห้ามไม่ให้ทำพินัยกรรมในรูปแบบอื่นนอกจากรูปแบบที่กำหนดไว้
คนต่างชาติอาจร่างพินัยกรรมตามกฎหมายไทยได้ โดยพินัยกรรมจัดแจงทรัพย์สินในประเทศไทยจะเป็นผลก็ต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิต ซึ่งครอบคลุมทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ เช่น คอนโดมิเนียม ยานยนต์ ของใช้ส่วนตัว เครื่องประดับ บัญชีธนาคารและอื่นๆ หากชาวต่างชาติที่มีทรัพย์สินจำนวนมากอยู่ที่ประเทศไทย ขอแนะนำให้ร่างพินัยกรรมตามกฎหมายไทย
Category: กฎหมายทรัพย์สินและที่ดิน, กฎหมายแพ่ง

About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล