การถือครองที่ดินกับคู่สมรสชาวต่างชาติ

ความกังวลเกี่ยวกับกฎระเบียบของรัฐบาลไทยที่เกี่ยวกับการถือครองที่ดินเป็นเรื่องของตัวแทนถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยบุคคลสัญชาติไทยที่สมรสชาวต่างชาติ ภายใต้ประมวลกฎหมายที่ดิน การที่บุคคลสัญชาติไทยถือครองที่ดินในฐานะตัวแทนเพื่อประโยชน์ของชาวต่างชาติ เป็นการกระทำผิดกฎหมายทางอาญา งานเขียนโดยกรมที่ดินได้เสนอแนวทางในการพิจารณาทางกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเมื่อพบว่าคู่สมรสชาวไทย ถือครองที่ดินแทนคู่สมรส
ตัวอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยคือผู้หญิงชาวไทยจดทะเบียนแสดงความเป็นเจ้าของในที่ดินโดยไม่เปิดเผยว่าตนสมรสกับคู่สมรสชาวต่างชาติ ตามที่กำหนดโดยกรมที่ดิน:

  • คู่สมรสชาวไทยซื้อที่ดินและเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จว่าเธอนั้นมีสถานะโสด ไม่ได้เปิดเผยว่าเธอสมรสกับชาวต่างชาติ ดังนั้นเนื่องจากคู่สมรสชาวไทยไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีแหล่งที่มาของเงินทุนที่ใช้ในการซื้อที่ดิน (ในระหว่างการสมรส) เป็นสินส่วนตัวจึงได้รับการสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเงินนั้นเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหากเงินนั้นถูกพิจารณาว่าเป็นสินสมรส คู่สมรสชาวต่างชาติจะมีสถานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน
  • คู่สมรสชาวต่างชาติได้มาซึ่งที่ดินโดยการละเมิดมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และอาจได้รับโทษตามมาตรา 111 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
  • คู่สมรสชาวไทยที่ถือครองที่ดินในฐานะตัวแทนของชาวต่างชาติโดยฝ่าฝืนมาตรา 96 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และอาจได้รับโทษตามมาตรา 111 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน นอกจากนั้นคู่สมรสชาวไทยยังมีความผิดในฐานแจ้งข้อมูลเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่และเป็นเหตุให้ทางเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการตามมาตรา 137 และ 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่ดินต้องถูกจำหน่ายจ่ายโอนภายในระยะเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดตามมาตรา 94 และ 96 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

อย่างไรก็ตาม หากปรากฎว่าคู่สมรสชาวไทยนั้นได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่มารดาของตน จะถูกพิจารณาว่าที่ดินนั้นได้ถูกจำหน่ายจ่ายโอนแล้ว ในกรณีดังกล่าวกรมที่ดินจะยื่นฟ้องร้องต่อพนักงานสืบสวนเพื่อดำเนินการฟ้องคดีกับคู่สมรสชาวไทยตามมาตรา 113 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 137 และ 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้ยังดำเนินคดีกับคู่สมรสชาวต่างชาติตามมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในที่ดินของชาวต่างชาตินั้นเป็นหัวข้อกฎหมายที่มีความซับซ้อนและมักมีบทลงโทษทางอาญา ดังนั้น ชาวต่างชาติที่สมรสกับชาวไทยและมีความสนใจที่จะลงทุนในที่ดินควรได้รับการปรึกษาจากทนายความที่มีความสามารถก่อนเริ่มการดำเนินการ

 

Category: กฎหมายทรัพย์สินและที่ดิน, กฎหมายธุรกิจ, กฎหมายแพ่ง

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog