การชำระบัญชีบริษัท: การปิดบริษัทไทยจำกัด

การชำระบัญชีบริษัท: การปิดบริษัทไทยจำกัด

ในบทความก่อนหน้านี้เราได้กล่าวถึงพื้นฐานทางกฎหมายที่ถูกกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การลงมติพิเศษและขั้นตอนที่ต้องทำในการจดทะเบียนเลิกบริษัทไทย ในบทสุดท้ายของการเลิกบริษัทไทยจำกัด เราจะอธิบายขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ คือ การชำระบัญชีบริษัท การชำระบัญชีหมายถึงหนึ่งในกระบวนการที่หนี้และงบกิจการบริษัทได้รับการชำระ ทรัพย์สินของบริษัทได้รับการจำหน่าย 

ครั้งหนึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งกรรมการ ผู้ชำระบัญชีจะต้องจัดทำงบดุลโดยเร็วที่สุดและนำไปให้ผู้ตรวจสอบบัญชีรับรอง จากนั้นจึงเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

แม้ว่าบริษัทจะปิดตัวลงแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1248 ก็ยังกำหนดชัดเจนว่า การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นจะเป็นไปในรูปแบบเดียวกันกับการประชุมที่จัดขึ้นขณะบริษัทยังดำเนินการอยู่ ดังนั้น ผู้ชำระบัญชีจึงจำเป็นต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์และออกหนังสือนัดประชุมสามัญให้ผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 7 วันก่อนการประชุม

การประชุมมีมติในการอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการและอนุมัติการชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ดำเนินการใดๆ ที่จำเป็นเพื่อสะสางทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท เช่น การจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัท ฟ้องร้องหรือดำเนินธุรกิจเท่าที่จำเป็น ในระหว่างกระบวนการชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีจะต้องยื่นรายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกสามเดือน รายงานดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยข้อมูลบัญชีล่าสุดของกระบวนการชำระบัญชีและจะเปิดเผยข้อมูลให้แก่ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้สามารถตรวจสอบได้

เมื่อสินทรัพย์ของบริษัทถูกชำระบัญชีหมดเรียบร้อยแล้ว ผู้ชำระจะต้องจัดทำบัญชีขั้นสุดท้ายและเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นครั้งสุดท้ายโดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 7 วันก่อนการประชุมและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น ในการประชุมครั้งสุดท้ายนี้มีเพื่อให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติการชำระบัญชีขั้นสุดท้ายที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้น จากนั้น ภายใน 14 วันหลังจากการประชุม ผู้ชำระบัญชีจะต้องยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและต้องชำระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี 400 บาทและออกหนังสือรับรอง 120 บาท

สุดท้ายนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้ต้องนำหนังสือ บัญชี และเอกสารของบริษัทไปเก็บไว้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลา 14 วัน โดยที่เอกสารดังกล่าวจะเปิดเผยต่อสาธารณชนเป็นเวลาสิบปี

หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการชำระบัญชี สามารถสอบถามเราที่เว็บไซต์

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog