การจำกัดกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติ: การแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

Amendments on FBL Thailand

เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลไทยได้ประกาศแผนการที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นเมืองหลวงทางการเงินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมามีการประกาศว่า กระทรวงพาณิชย์กำลังทบทวนว่าจะกระชับคำจำกัดความของธุรกิจที่คนต่างชาติเป็นเจ้าของในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่ โดยความเคลื่อนไหวนี้ทำให้เกิดการตื่นตระหนกในหมู่กิจการร่วมค้าระหว่างไทยและต่างประเทศหลายแห่งในประเทศไทย องค์กรระหว่างประเทศ และต่างประเทศ โดยองค์กรเหล่านี้เกรงว่า รัฐบาลไทยจะพยายามควบคุมการร่วมลงทุนเหล่านี้เพื่อประโยชน์แก่คนไทย

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายคุ้มครองทางการค้าที่ครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งจำกัดไม่ให้ธุรกิจต่างประเทศดำเนินธุรกิจในส่วนที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของเศรษฐกิจไทย รวมถึง “ธุรกิจบริการอื่น ๆ” ที่เป็นการใช้คำที่กว้าง ๆ เอาไว้ ดังนั้น ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว นักลงทุนต่างชาติสามารถหลีกเลี่ยงข้อจำกัดดังกล่าวได้โดยการร่วมทุนกับคนไทย กล่าวคือให้คนไทยถือหุ้นใหญ่ในกิจการนั่งเอง ปัจจุบัน การพิจารณาข้อกำหนดนี้ไม่ได้กีดกันให้ชาวต่างชาติเข้ามามีอำนาจควบคุมเสียงข้างมากของคณะกรรมการหรือเป็นเจ้าของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงที่เหนือกว่าได้ ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนต่างชาติจึงสามารถควบคุมกิจการร่วมค้าได้ แม้ว่าพวกเขาจะเป็นเจ้าของบริษัทที่ถือหุ้นน้อยกว่า 50% ก็ตาม

กระทรวงพาณิชย์กำลังพิจารณาปิดช่องโหว่นี้ เนื่องจากเชื่อว่า การอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาควบคุมบริษัทไทยถือเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นชาวไทยรายใหญ่ การแก้ไขที่เสนอจะพิจารณาว่า ใครเป็นผู้ควบคุมกิจการเพื่อพิจารณาว่านิติบุคคลเป็นเจ้าของโดยคนไทยหรือเป็นเจ้าของโดยชาวต่างชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกิจการร่วมค้าหลายแห่งที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมีนักลงทุนต่างชาตินำเงินมาลงทุนและเทคโนโลยีจำนวนมาก และสร้างชื่อให้กับโครงการต่าง ๆ ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของญี่ปุ่นที่มีอยู่ในประเทศไทยถึง 45%

วัตถุประสงค์ของกระทรวงพาณิชย์ในการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจไทยอาจมีความสมเหตุสมผล แต่การดำเนินการดังกล่าวจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการลงทุนในประเทศไทย แม้ว่าประเทศไทยจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ตาม แต่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการการลงทุน ประเทศไทยกำลังแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งอินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย และเมียนมาร์ กำลังเปิดเสรีเศรษฐกิจเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น เกาหลีใต้ และไต้หวันนั้น ประเทศไทยอาจเผชิญกับมาตรการตอบโต้ที่ขัดขวางไม่ให้คนไทยลงทุนและเป็นเจ้าของธุรกิจในต่างประเทศ สหภาพยุโรปซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับสองของไทยได้ออกคำเตือนแล้วว่า ข้อจำกัดเพิ่มเติมต่อสิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติในประเทศไทยจะส่งผลเสียต่อเทคโนโลยี ความรู้ และการลงทุนในหุ้นของไทยจากยุโรปในอนาคต

หากประเทศไทยต้องการเป็นศูนย์กลางทางการเงินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ควรเปิดให้ต่างชาติมีสิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้การแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวอาจส่งผลให้การลงทุนจากต่างประเทศลดลงในช่วงที่เศรษฐกิจไทยซบเซา ดังนั้นนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลควรตระหนักว่า ประเทศไทยดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขัน อีกทั้งประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยกำลังเปิดประตูสู่การลงทุนจากต่างประเทศเพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชน และประเทศไทยก็ควรทำเช่นเดียวกัน

Category: กฎหมายธุรกิจ

About the Author (Author Profile)

สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล

Search the blog