การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทภายใต้กฎหมายไทย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเช่นเดียวกับที่ระบุไว้ในกฎหมายของประเทศอื่นๆ แม้ว่า โดยปกติห้างหุ้นส่วนจะไม่อาจจัดตั้งขึ้นโดยนักลงทุนชาวต่างชาติ เพราะความยุ่งยากที่เกิดขึ้น จากพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติปี พ.ศ. 2542 กล่าวโดยทั่วไป การจัดตั้งบริษัทจำกัดเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนชาวต่างชาติมากกว่า เนื่องด้วยบริษัทที่ชาวไทยเป็นเจ้าของเสียงส่วนใหญ่กับกรรมการแม้จะมีเป็นชาวต่างชาติ ยังถูกพิจารณาว่าเป็นบริษัท “สัญชาติไทย” เพื่อวัตถุประสงค์แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติในทางตรงกันข้าม แม้ว่า ห้างหุ้นส่วนจะจัดตั้งขึ้นโดยการลงทุนด้วยเงินไทยเป็นส่วนใหญ่ยังคงถูกพิจารณาว่ามี “สัญชาติต่างชาติ” หากหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นชาวต่างชาติ แต่อย่างไรก็ตามชาวต่างชาติสามารถดำเนินการประกอบธุรกิจในประเทศไทย ในฐานะห้างหุ้นส่วนในบางกรณี เช่น หากพวกเขากำลังดำเนินการประกอบธุรกิจที่ไม่ถูกจำกัดโดยพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ หรือหากได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจต่างชาติ หรือได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจต่างชาติภายใต้สนธิสัญญาทางไมตรี ระหว่างราชอาณาจักรไทย-สหรัฐอเมริกา ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดำเนินการของห้างหุ้นส่วน มีดังต่อไปนี้
- ห้างหุ้นส่วนมี 3 รูปแบบ คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน, ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัด
- สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน หมายถึงหุ้นส่วนทางธุรกิจที่เกิดจากสัญญาและไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล หุ้นส่วนต้องรับผิดชอบร่วมกันแบบไม่จำกัดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนและผูกพันกันโดยเงื่อนไขข้อตกลงห้างหุ้นส่วน หากห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นได้จดทะเบียน จะมีสถานะเป็นนิติบุคคล อย่างไรตาม หุ้นส่วนยังคงต้องรับผิดเฉพาะตัวต่อบุคคลภายนอก
- ในทางกลับกัน ห้างหุ้นส่วนจำกัดแตกต่างจากหุ้นส่วนสามัญ ที่ความรับผิดระหว่าง หุ้นส่วนผู้จัดการและความรับผิดของหุ้นส่วนอื่น ความรับผิดของหุ้นส่วนที่มีใช้หุ้นส่วนผู้จัดการจะจำกัดเฉพาะในจำนวนเงินที่พวกเขามีส่วนร่วมเท่านั้น ในขณะที่หุ้นส่วนผู้จัดการมีความรับผิดโดยไม่จำกัดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วน
- ความแตกต่างอันสำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญ คือหุ้นส่วนต้องรับผิดโดยตรงต่อหนี้สินของห้างหุ้นส่วนหรือจำนวนเงินที่พวกเขามีส่วนร่วมทั้งนี้แล้วแต่กรณี ด้วยเหตุนี้บริษัทจำกัดจึงได้รับความนิยม เนื่องจากผู้ถือหุ้นแต่ละรายไม่ต้องเผชิญกับความรับผิดส่วนตัวเมื่อชำระเงินค่าหุ้นเต็มจำนวน
รูปแบบการจัดการองค์กรแบบใดแบบหนึ่ง อาจมีความเหมาะสมมากกว่ารูปแบบอื่นขึ้นอยู่กับประเภทการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้นักลงทุนชาวต่างชาติต้องคำนึงถึงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติและเลือกรูปแบบที่เหมาะสมสอดคล้องกับการจัดการองค์กร และควรได้รับการปรึกษาจากทนายความที่มีความสามารถก่อนการเริ่มดำเนินการใดๆ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเรา หรือโทร. 02-254-8900
Category: กฎหมายธุรกิจ, กฎหมายแพ่ง
About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล