กฎหมายครอบครัว: ผู้ปกครองมีสิทธิในการดูแลบุตรอย่างไร
หลังจากการหย่าโดยความยินยอม ข้อตกลงการหย่าอาจถูกแนบไว้กับหนังสือรับรองการหย่าและมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายตามมาตราที่ 1566(4) และ 1520 วรรคที่ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากคู่สมรสมีบุตรร่วมกัน ข้อตกลงที่สำคัญที่สุดที่ทั้งคู่ตกลงกันไว้ คือ บุคคลใดจะมีสิทธิในการดูแลเลี้ยงดูบุตร อย่างไรก็ดี หากภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนไปและบุคคลดังกล่าว หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการเปลี่ยนผู้ปกครองที่มีอำนาจในการดูแลบุตร? ตัวอย่างเช่น การหย่าของคู่สมรสคู่หนึ่งได้ตกลงกันว่าผู้เป็นมารดามีสิทธิในการดูแลบุตร สถานการณ์นี้นำไปสู่คำถามต่อไปนี้ที่อยู่ด้านล่าง
- การดำเนินการเปลี่ยนให้บิดาเป็นผู้มีอำนาจในการดูแลบุตร? เอกสารใดบ้างที่จำเป็น?
- หากผู้เป็นมารดายินยอมให้เปลี่ยนผู้มีอำนาจในการดูแลบุตร แต่ไม่สามารถแสดงตนที่จะให้ความยินยอมได้ มารดาสามารถให้อำนาจแก่บุคคลอื่นในการแสดงตนแทนเธอได้หรือไม่?
- หากผู้เป็นมารดาไม่ยินยอม?
กรณีที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนอำนาจปกครอง เมื่อมารดาไม่ยินยอมนั้น คือกรณีที่บิดาเป็นผู้มีความพร้อมด้านทางการเงินและเลี้ยงดูบุตรอย่างแท้จริง เนื่องจากมารดาละเลย แม้ว่ามารดายังเป็นผู้ปกครองที่มีสิทธิตามกฎหมาย
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการดูแลบุตรต้องได้รับความยินยอมจากศาล ซึ่งต้องพิจารณาถึงความเป็นอยู่และผลประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญตามมาตรา 1521 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เอกสารที่จำเป็นต่อการดำเนินการในขั้นตอนนี้ ได้แก่ (1) หนังสือรับรองการหย่าและข้อตกลงที่แนบกับหนังสือรับรอง (2) สิ่งที่ระบุตัวตนของผู้ยื่นคำร้อง(ในกรณีนี้คือ บิดา) (3) บันทึกกระทรวงมหาดไทยที่ระบุตัวตนของมารดา (4) สูติบัตรและทะเบียนบ้านของบิดา
ขั้นตอนนี้สามารถเริ่มต้นด้วยการยื่นคำร้องไปยังสถานที่ใดที่หนึ่งต่อไปนี้
- ศาลเยาวชนและครอบครัวในเขตอำนาจศาลที่หนังสือรับรองการหย่าและข้อตกลงได้ถูกบันทึกไว้
- ศาลเยาวชนและครอบครัวในเขตอำนาจศาลที่มารดามีภูมิลำเนาอยู่ตามกฎหมาย
มารดาไม่อาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทนเธอในการดำเนินการ หลังจากการยื่นฟ้องคดีแล้ว ทั้งบิดามารดาต้องเสนอหลักฐานที่เกี่ยวกับบุตรก่อนกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ในกรณีที่ผู้เป็นมารดาไม่ยินยอม บิดาต้องยื่นฟ้องตามกฎหมายกับมารดา ต่อศาลที่มารดานั้นมีภูมิลำเนาอยู่
กฎหมายครอบครัวไทยนั้นมีความซับซ้อน มันจำเป็นต้องทนายความในการร่างคำฟ้องและยื่นคำฟ้องนั้นต่อศาล ดังนั้น หากคุณต้องการเปลี่ยนอำนาจผู้ดูแลบุตร โปรดขอความช่วยเหลือจากทนายความที่มีความสามารถในด้านนี้
Category: กฎหมายครอบครัว
About the Author (Author Profile)
สยาม ลีเกิ้ล เป็นสำนักงานกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยทนายความผู้มีประสบการณ์ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานในประเทศไทยนี้ให้บริการทางกฎหมายอย่างครอบคลุมต่อลูกความท้องถิ่นและต่างประเทศสำหรับคดีความ เช่น คดีแพ่งและอาญา ข้อพิพาททางแรงงาน คดีทางการค้า การหย่า การรับเป็นบุตร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ฉ้อโกง และคดีเกี่ยวกับยาเสพย์ติด ความเชี่ยวชาญอีกด้านหนึ่งของสำนักงานคือ บริการเกี่ยวกับกฎหมายบริษัท เช่น การจดทะเบียนบริษัท และการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย กฎหมายครอบครัว ทรัพย์สิน และการสืบสวนส่วนบุคคล