การจดทะเบียนบริษัท: การประชุมผู้ถือหุ้น

การประชุมผู้ถือหุ้น เป็นองค์ประกอบสำคัญของกฎหมายว่าด้วยบริษัทของประเทศไทยตาม มาตรา 1144 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติ “บรรดาบริษัทจำกัด ให้มีกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน ด้วยกันจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง” ดังนั้น ผู้ถือหุ้นจึงมีบทบาทสำคัญ ในการบริการจัดการของบริษัทแม้ว่าจะเป็นทางอ้อมก็ตาม ประเด็นทางกฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น คือใครเป็นผู้มีสิทธิเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อาจมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นโดยบุคคลดังต่อไปนี้ กรรมการผู้มีสิทธิลงนามของบริษัท (มาตรา 1172) ผู้ถือหุ้นรวมกันนับจำนวนหุ้นได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของหุ้นทั้งหมด (มาตรา 1173) อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ข้อบังคับของบริษัทกำหนดหลักเกณฑ์การประชุมผู้ถือหุ้นที่เข้มงวดมากกว่าหลักเกณฑ์ในประมวล

อ่านต่อไป

การค้าระหว่างประเทศโดยปราศจากการจัดจำหน่ายในประเทศไทย

นอกจากจะเป็นสถานที่ใช้ประกอบธุรกิจแล้ว บริษัทต่างชาติยังเลือกประเทศไทยเป็นเขตอำนาจศาลเพื่อก่อตั้งธุรกิจ โดยไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างแท้จริงในบางกรณี เหตุผลที่บริษัทต่างชาติต้องการก่อตั้งบริษัทตนในประเทศไทย แต่ประกอบธุรกิจที่อื่นนั้น หลากหลายและซับซ้อน และอาจเกี่ยวข้องกับกฎหมายการประกอบธุรกิจของไทยเหนือเขตอำนาจศาลอื่น หรือเพียงเพราะทำเลที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยนั้นเป็นศูนย์กลาง

อ่านต่อไป

การปฏิบัติตามข้อตกลงการห้ามประกอบธุรกิจแข่งขันกับนายจ้าง

ลักษณะที่พบได้บ่อยในการสัญญาจ้างแรงงานบรรดาผู้บริหารระดับสูงคือข้อตกลงการห้ามประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง ข้อตกลงดังกล่าวมักกำหนดให้เมื่อสัญญาการจ้างงานยุติลง ห้ามพนักงานประกอบธุรกิจแข่งขัน ภายในระยะเวลาที่กำหนด ข้อสัญญาโดยทั่วไปจะกำหนดระยะเวลาหนึ่งต่อจากเวลาที่สัญญาจ้าง

อ่านต่อไป

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทภายใต้กฎหมายไทย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเช่นเดียวกับที่ระบุไว้ในกฎหมายของประเทศอื่นๆ แม้ว่า โดยปกติห้างหุ้นส่วนจะไม่อาจจัดตั้งขึ้นโดยนักลงทุนชาวต่างชาติ เพราะความยุ่งยากที่เกิดขึ้น จากพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติปี พ.ศ. 2542 กล่าวโดยทั่วไป

อ่านต่อไป

กฎหมายครอบครัว: ผู้ปกครองมีสิทธิในการดูแลบุตรอย่างไร

หลังจากการหย่าโดยความยินยอม ข้อตกลงการหย่าอาจถูกแนบไว้กับหนังสือรับรองการหย่าและมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายตามมาตราที่ 1566(4) และ 1520 วรรคที่ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากคู่สมรสมีบุตรร่วมกัน ข้อตกลงที่สำคัญที่สุดที่ทั้งคู่ตกลงกันไว้ คือ บุคคลใดจะมีสิทธิในการดูแลเลี้ยงดูบุตร อย่างไรก็ดี หากภายหลัง

อ่านต่อไป

การจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินที่ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ

ตามประมวลที่ดินแห่งประเทศไทย การที่บุคคลชาวไทยที่เป็นตัวแทนชาวต่างชาติในการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดบทลงโทษทางอาญาทั้งกับชาวไทยและชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ผลลัพธ์ที่ตามมาของการเป็น “ตัวแทนถือครองที่ดิน” คือที่ดินที่ถูกถือโดยบุคคลสัญญาชาติไทยเพียงแต่ในนามจะต้องถูกจำหน่ายออกไป

อ่านต่อไป

Search the blog