ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดสำหรับชาวต่างชาติ เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์อยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบ มีเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต และระบบที่ช่วยสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ หากผู้ประกอบการชาวต่างชาติมีความประสงค์ที่จะดำเนินธุรกิจในไทย นี่เป็นขั้นตอนที่จำเป็น และแนวทางที่สำคัญสำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยให้สำเร็จ
การจดทะเบียนธุรกิจในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ
สำหรับชาวต่างชาติที่สนใจเริ่มธุรกิจในประเทศไทย การเข้าใจข้อมูลและกระบวนการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการจดทะเบียนเพื่อเริ่มธุรกิจที่อาจดูซับซ้อนและใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่หากมีการเตรียมพร้อมที่ดี และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ การเปิดบริษัทสำหรับชาวต่างชาติก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป
กฎหมายและระเบียบการขอสัญชาติไทยปี 2566
ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งจะต้องพบเจอกับอุปสรรคในเรื่องต่างๆ ทั้งการขอยืดระยะเวลาอยู่ในประเทศไทย การเปิดบริษัท การซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่การต้องไปรายงานตัวทุก 90 วัน ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยราบรื่นขึ้น และไม่เจอกับอุปสรรคเหล่านี้อีกคือการแปลงสัญชาติเป็นคนไทย
กฎหมายและระเบียบกัญชาของประเทศไทย ปี 2565
“กัญชา” เป็นพืชที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และคนไทยทั่วไปรู้จักกันดีในฐานะพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบำบัดโรค และมีการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แผนไทยมาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม การประกาศใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้จัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ จึงทำให้กัญชากลายเป็นพืชสมุนไพรที่ผิดกฎหมาย
การเพิกถอนมติที่ประชุม
เกณฑ์การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด คือการลงมติโดยเจตนาไม่สุจริต มาตรา 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า “ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต” นอกจากนี้ มาตราที่ 421 แห่งประมวลกฎหมายฉบับเดีบวกันได้บัญญัติ“การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย” พิจารณาบทบัญญัติทางกฎหมายเหล่านี้รวมกันได้ความว่า หากมติบริษัทโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น ถือว่ามิชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำโดยเจตนาไม่สุจริตของผู้ถือหุ้น อาจถูกศาลสั่งให้เป็นโมฆะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186-188/2477 ศาลได้วางหลักเกณฑ์ว่า
การจำกัดอำนาจของกรรมการบริษัท
เมื่อนักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจภายในประเทศไทย มักเห็นว่าการจ้างคนไทยเพื่อทำหน้าที่เป็นกรรมการบริษัทร่วมกับกรรมการชาวต่างชาติเป็นเรื่องที่เหมาะสมกว่า โดยทั่วไป กฎหมายไทยมิได้กำหนดให้ บุคคลสัญชาติไทยต้องทำหน้าที่ในคณะกรรมการบริษัท นอกจากนี้ การรักษาไว้ซึ่งอำนาจการควบคุมคณะกรรมการบริษัทเป็นหนึ่งในวิธีที่นักลงทุนชาวต่างชาติใช้ปกป้องผลประโยชน์ของตนในบริษัทที่ส่วนใหญ่มีคนไทยเป็นเจ้าของ แต่อย่างไรตาม ในบางกรณีการมีคนไทยเป็นกรรมการบริษัทนั้นถือว่าเป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น กรนีที่พบบ่อยที่สุดกล่าวคือ นักลงทุนชาวต่างชาติเพิ่งจัดตั้งบริษัท แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตทำงานและ